การพัฒนาชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ศุภวัฒน์ ธรรมวงค์ศรี
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 23 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)  ชุดฝึกทักษะจำนวน  3 ชุด 2)  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน จำนวน  3 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน  20 ข้อ มีความยากง่าย  (p)  อยู่ระหว่าง 0.78 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.27 - 0.36 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีค่าอำนาจจำแนก (rxy)  อยู่ระหว่าง 0.35-0.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว (One sample t-test) และสถิติที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.15/83.48 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

  2. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  3. 3. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชางานปรับอากาศรถยนต์ เรื่อง คอมเพรสเซอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 64, S.D. = 0.64)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชธานี

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์, สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชธานี

References

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557) การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBLที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ ฯ :สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ฉันทนา การสะอาด. (2547) การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จิรเดช เหมือนสมาน. (2551) การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทองเพลง สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นันทนา คำสุข.(2552) การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ปวัลย์รัตน์ สุวรรณโครต. (2558) การใช้วิธีการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL)ในการพัฒนาทักษะกระบวณการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศศิธร อินตุ่น. (2559) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานฐานที่ส่งผลต่อการสร้างองค์ความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาประถมศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระ คณะครุศาสตร์ มหาลัยราชภัฏเชียงใหม่
McDonnell, K. (2007). Can 40 seconds of compassion reduce patient anxiety. Journal of Clinical Oncology, 17(1), 371.