ปัจจัยในการสร้างชุมชนสันติสุขท่ามกลางพหุวัฒนธรรมในอีสานใต้

Main Article Content

รุ่งสุริยา หอมวัน
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์
พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย
อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์
ภัฏชวัชร์ สุขเสน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยในการสร้างชุมชนสันติสุขท่ามกลางพหุวัฒนธรรมในอีสานใต้” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบททางสังคมในสังคมพหุวัฒนธรรม และศึกษาปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างชุมชนสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้คือ ๑) ชุมชนวัดโพธิ์ย่อย บ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ๒) ชุมชนบ้านอ้ออุดมสิน ตำบลไพล อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา ๓) ชุมชนวัดศิริจันทร์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์  และ ๔) ชุมชนวัดสว่างอารมณ์ ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง พบว่า ๑. สภาพบริบททางสังคมของชุมชนกลุ่มเป้าหมายทั้ง ๔ แห่งนั้น เป็นชุมชนเก่าแก่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณ มีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น เคารพบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ และปฏิบัติตามประเพณีสิบสองเดือนของภาคอีสาน ส่วนการแต่งกายนั้นเปลี่ยนแปลงไปยุคสมัย แต่เมื่อเวลาที่ชุมชนมีกิจกรรมก็จะแต่งกายให้เหมาะสมกับประเพณีนั้นๆ ส่วนภาษาพูดยังคงอนุรักษ์ภาษาถิ่นในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี และผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถในการนำพาชุมชนไปสู่การพัฒนา         ๒. ปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างชุมชนสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า ๑) ผู้นำชุมชนจะไกล่เกลี่ยความขัดแย้งด้วยความเป็นธรรม ๒) หน่วยงานภาครัฐจะระงับเหตุขัดแย้งเบื้องต้น ด้วยการจัดให้มีกฎกติกาของหมู่บ้าน ๓) กิจกรรมที่ก่อให้เกิดชุมชนสันติสุขคือ การไปวัด ไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ ไปร่วมงานศพ และไปพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน  ๔) ปัจจัยที่ทำให้เกิดสันติสุขในชุมชน คือ ภูมิปัญญาหรือผญาคำสอนโบราณ  หลักธรรมคำสอนของพระสงฆ์ และผู้นำชุมชน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

รุ่งสุริยา หอมวัน, Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University

Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย, Buriram Budhist College Mahaculalongkornrajavidyalaya University

Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

ภัฏชวัชร์ สุขเสน, Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

Buriram Buddhist college Mahachulalongkornrajvidyalaya University

References

กองพุทธศาสนศึกษา. คู่มือโครงการรักษาศีล 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2556.
คัมภีร์ ทองพูน. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง. ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, มปท.
เดือน คำดี. ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก. 2555.
มนต์ ทองชัช. ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 2553.
สมภาร พรมทา. มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม. 2554.
อานันท์ กาญจนพันธ์. พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2556.

วิทยานิพนธ์
รัฐติกานต์ ปันเปอะ. การจัดการแก้ไขความขัดแย้งในชุมชนชนบทภาคเหนือ, วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
พัชราภรณ์ หลักทอง, สภาพปัญหาและแนวทางจัดการความขัดแย้งในชุมชนของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.
วรเชฏฐ์ หน่อคำ, ผู้นำท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้งในชุมชนชนบท, วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
วิลาศ โพธิสาร, การปรับตัวทางสังคมของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
สุพจน์ แสงเงิน, วัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเทศบาลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี, รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2558.
มงคล สายสูง, การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตำบลน้ำเกี๋ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์, 2546.

ฝ่ายประสานการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง, หลักพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง, [ออนไลน์], นิตยสารภาพข่าวทักษิณ, ที่มา : http://km.moi.go.th/km/26_peaceful/peaceful12.PDF