พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ชายแดนไทยกัมพูชา

Main Article Content

ธยายุส ขอเจริญ
พระมหาขุนทอง แก้วสมุทร์

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาพลวัตวัฒนธรรมของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา: คติความเชื่อ และการละเล่น (2)เพื่อศึกษาการเรียนรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ชายแดนไทยกัมพูชา (3)เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา (4)เพื่อศึกษาขันติธรรม : กระบวนการสร้างสันติของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารส่วนงานภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายและข้อขัดแย้งในเขตพื้นที่ชายแดน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)        


                ผลการวิจัยพบว่า


                 ความเชื่อ และการละเล่นกับการสร้างความสัมพันธ์ของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ถือได้ว่าเป็นคติความเชื่อที่มีการนำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ โดยถือเป็นหลักปฏิบัติที่มีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งคติความเชื่อ และการละเล่นนี้ มีความสัมพันธ์ต่อการประกอบพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เช่น พิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ การทำบุญเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย มีการจัดขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษอย่างใหญ่โต พิธีกรรมมะม๊วตของประชาชนตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา มีความเชื่อว่า มะม๊วตนั้นเป็นพิธีกรรมการเข้าทรงเพื่อรักษาคนป่วยและเป็นการบูชาครูผู้การประกอบพิธีกรรมการเข้าทรงมะม๊วต องค์ประกอบสำคัญของพิธีกรรมมะม๊วตนั้น ประกอบด้วย 1) ผู้ร่วมพิธีกรรม อาจารย์ผู้ประกอบพิธี (ผู้เป็นร่างทรง ลูกศิษย์ของอาจารย์ผู้เป็นร่างทรง กลุ่มผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมพิธี) 2) วันเวลาในการประกอบพิธีกรรม 3) สถานที่ ในการประกอบพิธีกรรม 4) ดนตรีในการประกอบพิธีกรรม และ 5) เครื่องประกอบที่ใช้ในพิธีกรรม ความเชื่อพิธีกรรมมะม๊วตในทรรศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พบว่า พิธีกรรม มะม๊วตไม่ได้เป็นพิธีกรรมที่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของ ประชาชนที่นับถือผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ


                 ประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีวัฒนธรรมเป็นลักษณะหนึ่งของสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะการพัฒนาการ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การปกครอง เทคโนโลยี ฯลฯ  และการมีจำนวนประชากรเพิ่ม มากขึ้น ประกอบกับการที่วัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก จึงทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทางโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคมที่ได้ เปลี่ยนไป ที่สำคัญทำให้วิถีชีวิต ระเบียบแบบแผนที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ระบบใน ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้าน การเมือง ยังคงมีผลต่อชุมชนของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา


                 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชา มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีต และมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ความขัดแย้งที่มีอยู่ฝังรากลึกและเกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่บ่อยครั้ง จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของทั้งสองประเทศ ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของประชาชนในพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชา ประกอบด้วยปัจจัยทางวัฒนธรรม 3 อย่าง ได้แก่  ความเป็นเครือญาติ การพึ่งพาอาศัยกัน และ การนับถือศาสนาและความเชื่อ นอกจากนั้น ควรส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณหมู่บ้านตามแนวชายแดนเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีการเจริญเติบโตมั่นคงยั่งยืน พัฒนาหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง นอกจากนั้น ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับสมาชิกชุมชนตามแนวชายแดน เช่น ศึกษาดูงานตามชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา กิจกรรมทำบุญผ้าป่าไปมาหาสู่กันแข่งขันกีฬา ประเพณีร่วมกันกับชุมชนชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เพื่อสร้างความสามัคคีและมีความผูกพันกันมากขึ้น นอกจากนั้นควรใช้ความเป็นเครือญาติแสวงหาแนวทางในการพัฒนาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน


                 หลักขันติธรรมกับการดำเนินงานของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนมากจะใช้ความอดทนเป็นหลัก โดยเฉพาะในการดำเนินงานทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา อาจกล่าวได้ว่าหลักขันติกับการดำเนินงานของผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักขันติ 4 ประการ   1) อดทน อดกลั้นต่อความลำบาก ตรากตรำ 2) อดทน อดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย 3) อดทน อดกลั้นต่อ ถ้อยคำด่าว่าหยาบคาย คำเสียดสี และ 4) อดทน อดกลั้นต่อพลังอำนาจบีบคั้นของกิเลส ผู้นำชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  ส่วนมากจะใช้หลักธรรมในการแก้ปัญหา เพราะจะทำให้เกิดความสงบทางด้านจิตใจ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พระมหาขุนทอง แก้วสมุทร์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Sisaket Buddhist College

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Sisaket Buddhist College

References

ไครซิสกรุ๊ป นักการทูต, รายงานของไครซิสกรุ๊ปเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยได้ในรายงานเอเชียฉบับ
ที่ 121 Thailand: The Calm before Another Storm? ประเทศไทย: ความสงบก่อนพายุอีกลูกจะมา
เยือน, เผยแพร่ 11 เมษายน 2554; รายงานเอเชียฉบับที่ 192 Bridging Thailand’s Deep Divide
ประสานรอยแยกในประเทศไทย, เผยแพร่ 5 กรกฎาคม 2553.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,“แนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับชุมชนและเครือข่ายทางสังคม”,เอกสารประกอบการเรียนการสอน
วิชาพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
2555.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุต.โต),ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ,กรุงเทพมหานคร,
โรงพิมพ์สหธรรมิก} 2555.