การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พรรณิภา งามเลิศ
ประกฤติ พูลพัฒน์
รุ่งนภา ตั้งจิตเจริญกุล

บทคัดย่อ

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพและจัดลำดับความสำคัญของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมมนากลุ่ม จำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มี 15 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ความเมตตา กรุณา 2) ความยุติธรรม 3) ความซื่อสัตย์ สุจริต 4) มีกัลยาณมิตร 5) มีธรรมาภิบาล 6) ความมีเหตุ มีผล 7) ความเป็นผู้นำ 8) ความมีวินัย 9) มีความรับผิดชอบ 10) มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน 11) การมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 12) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 13) การบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 14) มีความเสียสละ 15) มีจิตสาธารณะ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดมาก (=4.6, S.D.= 0.16) คือด้านตนเอง 3. การตรวจสอบคุณภาพและจัดลำดับความสำคัญของตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน คือ 1) ความยุติธรรม 2) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 3) มีกัลยาณมิตร 4) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 5) มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน 6) มีความเสียสละ 7) มีความรับผิดชอบ 8) การบริหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 9) ความมีเหตุ มีผล 10) มีจิตสาธารณะ 11) ความซื่อสัตย์ สุจริต 12) ความเมตตา กรุณา 13) ความมีวินัย 14) มีธรรมาภิบาล 15) ความเป็นผู้นำ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประกฤติ พูลพัฒน์ , Suan Dusit University

Suan Dusit University

รุ่งนภา ตั้งจิตเจริญกุล, Suan Dusit University

Suan Dusit University

References

กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญาและประเสริฐอินทร์รักษ์ (2555) คุณลักษณะผู้ประกอบการของ
ผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครปฐม,วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มิถุนายน), 98-108.
แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล.(2555). วิกฤตแรงงานไทย.คอลัมน์เศรษฐธรรมศาสตร์ตลาดวิชา. www.econ.tu.ac.th/oldweb/doc/news/409/econ_64_Kaewkwan. (5 มกราคม 2558)
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ (2560) คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559-2564).
ชลินธร บุตรดีวงค์และนพดล เจนอักษร (2561) ความเป็นกัลยาณมิตรของผู้บริหารกับ
ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร, วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กรกฏาคม-กันยายน), 115-124.
ประทีป ทับโทน, ศักดา สถาพรวจนาและอรสา จรูญธรรม (2563) กลยุทธ์การบริหาร
สถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล, วารสาร
วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่10 ฉบับที่1 มกราคม-เมษายน, 27-40.
ภัทรพงษ์ ธำมรงค์ปรีชาชัย,ธีรวรรณ ธีระพงษ์และวีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (2563) อิทธิพลของ
ความเมตตากรุณาต่อตนเองที่มีต่อความกรุณาต่อผู้อื่นและความสุขของจิตอาสา ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล,วารสารมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 103-119.

ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว (2559) มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต2
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปาริฉัตร จันโทริ (2555,กรกฎาคม-กันยายน).การศึกษาระบบทวิภาคี ทางออกของปัญหา
แรงงานไทย.วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 35(135): 29-39.
พระครูปลัดณัฐวัฒน์ อธิปญฺโญ, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัยและพระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ (2563)
รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม 4 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร, วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม), 231-241.
มิ่งขวัญ คอยชื่นและภัทรพล มหาขันธ์ (2553) สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารวิทยาลัย
ชุมชนในประเทศไทย, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่2 ฉบับที่1 (กรกฎาคม -ธันวาคม), 60-70.
วิทยากร เชียงกลู (2559).รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทัน โลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
สุริยา อรัญเฉวียง (2559) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ของ
นักเรียนโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล บุญลีและสุวิมล โพธิ์กลิ่น (2557) การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์,ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 95-104.
สุขุมพงษ์ ชาญนุวงศ์, อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียม และบุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา (2559) ความ
ยุติธรรมในมิติด้านวัฒนธรรม จริยธรรมทางศาสนาและธรรมาภิบาล,วารสารมหาวิทยาลัยฤศิลปากร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม), 1370-1381
อัจจนาถ ไชยนาพงษ์, วนัสรา เชาวน์นิยมและบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2559) ปัจจัยจูง
ใจความมีจิตอาสาในกิจกรรมสาธารณสุขของผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการ ในจังหวัด
ชลบุรี, วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม, 64-75.
อัจฉริยา สุรวรเชษฐ, ชัยพจน์ รักงามและสฎายุ ธีระวณิชตระกูล (2560) รูปแบบการพัฒนา
พฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-กันยายน), 156-166.
อาคม มากมีทรัพย์ (2557).จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา, วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์, ปีที่ 28 ฉบับที่ 87 (2014): กรกฎาคม-กันยายน. 314-322.