การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานศึกษาเป็นองค์การระดับฐานล่างสุดของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการโรงเรียน คือ ผู้บริหารโรงเรียน เนื่องจากเป็นผู้วางกรอบ และกำหนดทิศทาง และนโยบายการบริหารโรงเรียน ตลอดจนบังคับบัญชา ครูผู้สอนในโรงเรียน จัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จก้าวไปสู่ความเป็นเลิศและความเป็นเลิศดังกล่าวต้องยึดบนฐานผู้เรียนสำคัญที่สุด โรงเรียนเอกชนเป็นองค์การทางการศึกษาที่มีหน้าที่ให้การศึกษาที่ดีมีคุณภาพและมีมาตรฐานแก่ประชาชนผู้แสวงหาการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาคุณภาพชีวิต การที่โรงเรียนเอกชนจะอยู่รอดและมีเสถียรภาพได้นั้นปัจจัยที่สำคัญ คือ คุณภาพและประสิทธิภาพของโรงเรียน ดังนั้น หากโรงเรียนเอกชนที่ต้องการเป็นเลิศ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารจัดการโรงเรียนดังกล่าวก็คือ ตัวผู้บริหาร ซึ่งค่อย ๆ กำหนดระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถานศึกษาให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งมาตรฐานของตนเองและมาตรฐานที่ใช้กับผู้อื่น การพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศจะต้องกำหนดนโยบายและสร้างบรรยากาศการบริหารไปพร้อม ๆ กัน โดยมีกระบวนการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ 9 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) การบริหาร-ผู้นำ (Management-Leadership) 2) การบริหารคน (Staff Management) 3) นโยบายและกลยุทธ์การบริหาร (Policies and Strategies) 4) การจัดการทรัพยากรในการปฏิบัติงานในโรงเรียน (Resources Management) 5) กระบวนการปฏิบัติงาน (Processes) 6) ความพึงพอใจของครูและบุคลากรในโรงเรียน (Staff Satisfaction) 7) ความพึงพอใจของลูกค้า/ประชาชน (Customer/People Satisfaction) 8) ผลกระทบต่อสังคม/ท้องถิ่น (Impact on Society) และ 9) ผลลัพธ์จากการบริหารจัดการ (Results)
Article Details
References
2542.
สงบ ประเสริฐพันธุ์. ร่วมกันสรรค์สร้างคุณภาพโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยสาส์น, 2543.
สุพล วังสินธุ์. โรงเรียนเพื่อความเป็นเลิศ. วารสารพัฒนาหลักสูตร, 14 (119), ตุลาคม-ธันวาคม 2537.
สมโภชน์ นพคุณ. การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ. ข่าวนักบริหาร, (กรกฎาคม-กันยายน 2541.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. มิติคุณภาพของโรงเรียน. วารสารสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 15(2), ธันวาคม 2540-
มกราคม 2541.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. คุณภาพ. วารสารวิชาการ, 2(1), มกราคม 2542.
สมพร เพชรวงค์. กระบวนทัศน์ใหม่ของโรงเรียนสู่ชุมชน, วารสารข้าราชการครู. 18: 27-30, สิงหาคม-กรกฎาคม 2548.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค, 2545.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค, 2552.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. การบริหารโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน, 2532.
สุปราณี โพธิ์จาด. ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารบริหารการศึกษา, 13(24), มกราคม-มิถุนายน 2559.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. ผู้บริหารโรงเรียน : บทบาทและความท้าทายในยุคปฏิรูปการศึกษา ไทยในทศวรรษที่สอง
(พ.ศ. 2552-2561). แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2, 2553.