การนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ

Main Article Content

ดารัณ จุนสมุทร
อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายด้านความมั่นคงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติไปปฏิบัติ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) คือ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากผู้บริหารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 11 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การใช้ข้อมูลแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการบริหารงานมี 3 ด้านบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายคือ ประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติราชการและการพัฒนาองค์กร ส่วนคุณภาพการให้บริการไม่บรรลุผลสำเร็จ และแนวทางในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผู้นำยุคใหม่ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป อาศัยความร่วมมือของผู้ตามที่สอดคล้องกับแรงจูงใจ  การเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในการคิด วางแผนและการตัดสินใจ การวิจัยเชิงปริมาณ ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยเชิงนโยบาย ด้านภาวะผู้นำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.=0.72) และการบริหารงานที่ส่งผลสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการพัฒนาองค์กร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.24, S.D.= 0.73) ทั้งสองปัจจัยสามารถร่วมกันทำนาย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ ควรมีงบประมาณที่เพียงพอด้านคุณภาพการให้บริการ ที่สามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อติพร เกิดเรือง, Shinawatra University

Shinawatra University

References

กชกร เอี่ยมวิมังสา (2558) การสื่อสารภายในองค์การของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ,
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กัญวัญญ์ ธารีบุญและนพดล เจนอักษร, (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทินกร ศรีลา, ชัยวัชน์ หน่อรัตน์, สมคิด แก้วทิพย์และธรรมพร ตันตรา. (2558). การบริหาร
องค์การแบบสมดุล ของเทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา แห่งชาติครั้งที่ 36, 29-31 ตุลาคม 2558, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 864-870.
ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2557). การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ
ปฏิบัติราชการของ เทศบาลนครสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บวรภัค ชัยประเศียร. (2560) การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้อาคารจากการเปลี่ยนแปลง
สำนักงาน: กรณีศึกษา อาคารผู้โดยสารอากาศยานส่วนบุคคล ท่าอากาศยานดอน
เมือง บริษัท เอ็มเจ็ท จำกัด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ :ม.ป.ท.
พิเชฐ จันทร์หนองแวง. (2554), ประสิทธิผลปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิผลของการนำ
นโยบายการเรียนฟรีสิบห้าปีไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณี สถานศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี.
สาวิตรี ยอยยิ้ม,นลินณัฐ ดีสวัสดิ์และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน (2560), ภาวะผู้นำกับการสร้าง
แรงจูงใจเพื่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การ, วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ,
ปีที่ 8 ฉบับ 1 (มกราคม-มิถุนายน), 140-153.