แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

Main Article Content

รณกร รัตนะพร
อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม 2) ศึกษาปัจจัยปัญหาและอุปสรรคต่อแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม การวิจัยแบบผสานวิธี  คือ (1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารกองบัญชาการตำรวจสันติบาล จำนวน 11 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (2)  การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คนในกองบัญชาการตำรวจสันติบาล โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม คือการบริหารงานรูปแบบใหม่ที่ที่เรียกว่า “Special Team” S=security, P=participation, E=efficiency, C=creative, I=innovation, A=activeness, L=law, T=transparent, E=ethics, A=accountability, and M=moral 2) ปัจจัยปัญหาและอุปสรรคต่อแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม เป็นการบริหารงานตามกฎ ระเบียบที่มีความซับซ้อน ไม่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างทันการณ์ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม (1) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ด้านค่านิยมร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.62) และ (2) หลักธรรมาภิบาล 10 หลัก ด้านหลักความเสมอภาคอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.71, S.D. = 0.55) สามารถทำนายหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ นำมาปรับใช้ในด้านการให้บริการแก่ประชาชน และถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แก่หน่วยงานได้เต็มศักยภาพของแต่ละคน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อติพร เกิดเรือง , สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยชินวัตร

สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยชินวัตร

References

กรกนก บุญชูจรัส,ภัทรพล มหาขันธ์ (2553).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำงานเป็นทีมของ
พัฒนาการในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์การศึกษาและพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ณัฐวุฒิ ประทีปลัดดา,พัชร์สิตา เพชรประดับ, พลอยไพลิน พงษ์ศิริแสน ,พิทักษ์ ศิริวงษ์ (2559) .การให้ความหมาย ที่มาของความหมายและกระบวนการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา.ฉบับภาษาไทยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน 2559)

ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์. (2561). ความชอบธรรมกับการเปลี่ยนแปลงองค์การของกรมสอบสวน คดีพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
วิวัฒน์ชัย ศรีจันทร์,จตุพร เพ็งชัยและยุพาศรี ไพรวรรณ (2562) การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 16 ฉบับที่ 72 (มกราคม-มีนาคม),63-80.
บูชิตา สังข์แก้วและโกวิทย์ พวงงาม (2558) พลวัตการพัฒนาการกระจายอำนาจตัดสินใจ สำหรับตัวแสดงท้องถิ่นในกระบวนการกำหนดโครงการเขื่อนขนาดใหญ่: ศึกษากรณีโครงการแก่งเสือเต้น, วารสารวิจัย มสด. สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1, 113-126.
พระครูกิตติวราทร, มัทนา พันทวี,รุ่งนภา เวียงสงค์,จิราภรณ์ ผันสว่างและระพีพัฒน์ หาญโสภา (2562) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562).
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.(2549). การประยุกต์และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2551).คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.
อุไรวรรณ เตียนศรีและศรุดา สมพอง .(2562). การปรับโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม,127-140.
อภิญญา ขัดมะโน (2551) การศึกษาการบริหารเพื่อความเป็นเลิศ ของคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่