การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของการศึกษาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการเลือกและเสนอแนวทางเพื่อตัดสินใจ รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานติดตามตรวจสอบและการมีส่วนร่วมรับประโยชน์ และเป็นเจ้าของนโยบายสาธารณะมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ2) คุณภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านหลักสูตร ส่วนด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ และด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับต่ำ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าความสัมพันธ์ .078
Article Details
References
ฑัตรัต มั่นรอด. (2553). การศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 ระดับประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐณิชานันท์ พิมพ์ทอง. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนบ้านทับร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเมิน ทองพร่อง. (2553). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ประเสริฐ มิ่งเมือง. (2555). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านบึง “มนูญวิทยาคาร” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สนธยา จันผง. (2553). ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านจันทเขลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สนธยา จันผง. (2553). ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านจันทเขลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุขพรรษา พะโรงรัมย์. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภัทรภร อุ่นทะวารี. (2556). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของ โรงเรียนเทศบาลอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
โสภณ บัวมาสูง. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลศรทิพย์ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
โสภณ บัวมาสูง. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลศรทิพย์ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Castro, M and Exposito-Casas, E. and Lopez-Martin, E. and Lizasoain, L. and Asencio, E. N. and Gariria, J. (2015). L Parental involvement on student academic achievement : A meta-analysis Educational Research Review.
Henderson, A.T., Carson, J., Avallone, P., and Whipple, M. (2011). Making the most of school – family compacts. Educational Leadreship.