การพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติ ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

ทิพย์ธิดา ณ นคร
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
อำนาจ บัวศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติสำหรับวัยผู้ใหญ่ตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติสำหรับวัยผู้ใหญ่ตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติสำหรับวัยผู้ใหญ่กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยแบ่งเป็นระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์การเผชิญวิกฤติ จำนวน 10 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติตามแนวพุทธจิตวิทยา จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติด้วยแบบวัดการเผชิญวิกฤติตามแนวพุทธจิตวิทยา จากกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ จำนวน 480 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย (1) ด้านสติ (2) ด้านความมั่นคงทางจิตใจ (3) ด้านความศรัทธาและเห็นคุณค่าในตนเอง (4) ด้านสัมพันธภาพต่อตนเองและผู้อื่น โดยบูรณาการกับหลักพุทธธรรม คือ สติ เป็นตัวชักนำให้เกิด ศีล สมาธิ และปัญญา (ไตรสิกขา) และมรรคมีองค์แปด 2) ตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤติตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 23 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) สติ(CONS) (2) ความมั่นคงทางจิตใจ (MIND)  (3) ศรัทธาและเห็นคุณค่าตนเอง (SELF) และ (4) สัมพันธภาพต่อตนเองและผู้อื่น (RELA) 3) โมเดลตัวบ่งชี้แต่ละองค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 400.70, df = 189, χ2/df = 2.12,GFI =.934, AGFI = .903, RMR = .0212, RMSEA = .0483, P-value =.0000 และ CN= 284.487)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

อำนาจ บัวศิริ, รองศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กนกวรรณ ขวัญอ่อน. (2561). พุทธจิตวิทยาสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมสุขภาพจิต. (2552). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี: ภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤต RQ. นนทบุรี: สํานักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2549). อาร์คิว ภูมิคุ้มกันทางใจ RQ - Resilience Quotient. สืบค้น 15 เมษายน 2563, จาก http://www.happyhomeclinic.com/a21-RQ.html
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9. (2518). พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต, ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน. วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2518. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2563, จาก https://sites.google.com/ site/rsvsite16601/phrarachthan-kae-khna-khru-laea-nakreiyn-rongreiyn-rachwinit
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
นันทา ธงชัยสุริยา. (2561). การศึกษาการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรจิรา วงษาพาน. (2558). พุทธวิธีในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการเผชิญวิกฤต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
American Psychological Association. (2012). Building your Resilience. Retrieved April 15, 2020, from https://www.apa.org/topics/resilience
Badri Bajaj and Neerja Pande. (2016). Mediating role of resilience in the impact of mindfulness on life satisfaction and affect as indices of subjective well-being. Personality and Individual Differences. 93, 63-67.
Campbell. A. Converse. P. E. & Rodgers. W. L. (1976). The Quality of American Life: Perceptions. Evaluations. and Satisfactions. New York: Russell Sage Foundation.
Grotberg. E. H. (2004). Children and Caregivers: The Role of Resilience. Retrieved April 15, 2020, from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1. 624.1424&rep=rep1&type=pdf
Hair. J.F. Black. W.C. Babin. B.J. & Anderson. R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). Pearson: New York.
Lowenthal. M. F. & Chiriboga. D. (1973) Social stress and adaptation: toward a life-course perspective. In C. Eisdorfer & M. P. Lawton (Eds.). The psychology of adult development and aging. American Psychological Association. (p.281-310).
Thomas. G.P. Dustin. A.P. Allen. S. & Jamie. E.S. (2000) Religious faith and spirituality in substance abuse recovery: Determining the mental health benefits. Journal of Substance Abuse Treatment. 19(4), 347-354