แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 2) เพื่อศึกษาสภาพของวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางพระพุทธสาสนาในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ ด้านชาติพันธุ์เป็นชาติไตยยวนและไตยเขิน เป็นชาติพันธุ์ในสายเครือญาติเดียวกัน อดีตเคยเป็นอาณาจักรล้านนาเดียวกัน มีการปกครองในระบบกษัตริย์ ความเชื่อด้านไสยศาสตร์ อำนาจลึกลับและพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดร่วมร่วมกันเหมือนกัน แม้ปัจจุบันการปกครองเปลี่ยนแปลงไปแต่ยังยึดถือวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมที่เหมือนกัน ดังเช่นวัฒนธรรมทางศาสนา ทั้งสองนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีร่องรอยฝ่ายสวนดอกและป่าแดงที่เหมือนกัน มีศิลปะวัฒนธรรม เช่น สถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมที่คล้ายคลึง และมีจุดร่วมที่เหมือนกันเพราะอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาและเชิงช่าง 2) สภาพของวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและประเทศแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ ด้านศาสนา/การศึกษา มีการเล่าเรียน อย่างน้อยสุด 2 ภาษาคือ ภาษาของตนกับภาษาราชการ แต่ด้านการศึกษาพุทธศาสตร์กลับมีคนนิยมเรียนถดถอยลดน้อยลง จะมุ่งเน้นไปทางเศรษฐศาสตร์และอื่นๆ ยกเว้นการศึกษาของสงฆ์เท่านั้นที่เป็นหลักสําคัญในการพัฒนาจิตใจสังคมและอนุรักษ์ความเป็นชาติพันธุ์ของตนไว้ ส่วนพุทธศิลป์ ยังคงมีการสืบทอดงานศิลปะประเภทต่างๆ ทั้งด้านสถาปัตยกรรมประติมากรรมและด้านวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือ ภาษาตัวหนังสือ, การพูดจา, อาหารการกิน, เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า, สิ่งปลูกสร้างและวัฒนธรรมทางจิตใจ กล่าวคือ ศาสนาคติธรรรม ที่หล่อหลอมจิตใจของคนในสังคม เชื่อในบาปบุญ กฎแห่งกรรม ชอบความสงบ ชอบช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ส่วน วัฒนธรรมประเพณี มีการรักษาไว้ได้ดี แม้จะลดบางอย่างออกไปบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยรวมถึงการปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น 3) แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางพระพุทธสาสนาในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมเชิงด้านวิชาการ การวิจัยร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือเชิงวิชาการ และสร้างคุณค่าของวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เกิดมูลค่า คือการนำศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นจุดขายสำคัญในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของทั้งสองให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงเป็นอย่างดี
Article Details
References
เนื่องในโอกาสพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6, เจ้าอาวาสวัดศรี
โคมคำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อายุวัฒนมงคลครบ 100 ปี. พะเยา :
นครนิวส์การพิมพ์.
โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน. (2552), ประเพณี 12 เดือน เมือง
เชียงตุง, มรดก ล้านนา:เชียงใหม่.
จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2545). สังคมวิทยาตามแนวพุทธ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
ประกอบศิริ ภักดีพินิจ, (2561), โครงการ การสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเมือง
พะเยาเพื่อการพัฒนาเมืองยั่งยืนสร้างสรรค์,
ใน http://abc-un.org/research/rdg54o0010/, สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561.
พระปลัดดร.เสน่ห์ ธมฺมวโร, (2555), วิถีไทเขิน เชียงตุง, เชียงใหม่ :สํานักพิมพ์มรดกล้านนา.
ยศ สันตสมบัติ. (2540). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,