การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

พรเลขา ชุ่มนาเสียว
นฤมล ภูสิงห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80, 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้านความสามารถในการทำโครงงานหน่วยการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านซับไทร ศูนย์เครือข่ายวะตะแบก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 11 แผน จำนวน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิตที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน Kolmogorov–Smirnov test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานหน่วยการเรียนรู้วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ  82.09/80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้  วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน  หน่วยการเรียนรู้  วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีผลการเรียนรู้ด้านความสามารถในการทำโครงงานในระดับสูง 4) ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

นฤมล ภูสิงห์, อาจารย์ ดร., คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

จารุวรรณ ไร่ขาม. (2559).การพัฒนาผลการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
โครงงานเรื่อง การทำปลาส้มไร้ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์
ไทยวัฒนาพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาดและ สุริทอง ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา.
กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน:การเรียนการสอนแบบ
บูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวรัตน์ อยู่พุ่ม. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความสามารถในการคิด
สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ลัดดา จันทร์ศรี. (2555). การพัฒนาคุณภาพโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกหัดการคิด
และแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโคกพนมดี อำเภอศรีมโหสถจังหวัดปราจีนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุชาติวงศ์สุวรรณ. (2542). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. 27 ธันวาคม
2562.http://supatat-project.blogspot.com/p/blog-page_185.html.