รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

Main Article Content

มะลิวัลย์ โยธารักษ์
อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3  2)  เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 และ 3)  เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 วิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนศึกษารูปแบบ  การพัฒนาร่างรูปแบบ และการประเมินรูปแบบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้การบริหารงานของภาวะผู้นำตามทุติยปาปณิกสูตร โดยมีรูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล (GG) และวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ซึ่งพัฒนาจากตอนที่ 1 ได้รูปแบบ SURAT Model ประกอบด้วย S คือ School-Based management: SBM การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน U คือ Umpire ผู้ชี้ขาด ชี้นำความเป็นไปขององค์กร ซึ่งหมายถึงผู้นำ ซึ่งมีคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ มีวิสัยทัศน์ มีความเชี่ยวชาญและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีตามหลักทุติยปาปณิกสูตร R คือ Result Based Management: RBM การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์        ประกอบด้วย 3 E ได้แก่ Economy (ประหยัด), Efficiency (มีประสิทธิภาพ) และ Effectiveness (มีประสิทธิผล) A คือ Administration การบริหารจัดการวงจรคุณภาพ  (PDCA) ภายใต้หลักธรรมาภิบาล (GG) T คือ Total Quality Management การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ที่เน้นลูกค้าคือผู้เรียนเป็นสำคัญ (Customer Focus) ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (Process Improvement) และให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Involvement) 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ทั้งยังมีความเป็นเอกลักษณ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อรุณเกียรติ จันทร์ส่งแสง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาการบริหารระบบคุณภาพ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว,
ชมพู โกติรัมย์. (2557),“ศตวรรษที่ 21 ปัจจัยการผลิตที่ท้าทาย ก้าวย่างที่ต้องปรับของไทย”. .มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.
นิพนธ์ แสงเนตร. (2560), “การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนดีศรีตำบลต้นแบบกระทรวงศึกษาธิการ”. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, Vol.11 (2).
บัญชา สุริยะสุขประเสริฐ, สมาน อัศวภูมิ และพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2560), “รูปแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก”. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต
ประเวศ วะสี, (2542), การปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญาทางสมองจากความหายนะ, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2549), พุทธวิธีการบริหาร, กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
พระมหาณรงค์ศักดิ์ โสภณสิทฺธิ (โสภา). (2548) “ศึกษาบทบาทการเผยแผ่พุทธธรรมของพระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม) ”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา วงอินทร์ และฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2558), “การปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) ของโรงเรียนปายวิทยาคาร อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 3 (1) (มิถุนายน 2557-พฤษภาคม 2558).
สมัคร รู้รักดี, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์และเสรี ชัดแช้ม. (2554) “รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด”.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 6(1).

สุขุมพงษ์ ชาญนุวงศ์ และบุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา. (2560), “การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความยุติธรรมในองค์การ”.Journal of Community Development Research. Humanities and Social Sciences, 2017; 10(3), 36-47.
สุกิจ ศรีพรหม. (2550) “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับแบบแผน การบริหารราชการแนวใหม่: กรณีศึกษาการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2553), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553, กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2550), เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อัครเดช ยาภักดี. (2558),“รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สำหรับสถานศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.