บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยุคสมัยเปลี่ยนสรรพสิ่งในโลกย่อมปรับตัวตาม บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีความรู้เชิงทฤษฎี มีความสามารถ มีทักษะ มีประสบการณ์ และหมั่นสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงโลกยุคใหม่ ต้องประกอบไปด้วย 1. ความรู้ทางวิชาการ นักประกอบการ นักริเริ่มสร้างสรรค์และความสามารถด้านเทคโนโลยี นักสร้างพลังและแรงบันดาลใจเชิงบวก ตัวแบบที่ดี และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2. สร้างทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในการการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เทคโนโลยีและดิจิตอล การตัดสินมุ่งผลสัมฤทธิ์และมนุษยสัมพันธ์ 3. บทบาทในฐานะผู้นำทางวิชาการ บทบาทในฐานะผู้รักษาระเบียบวินัย บทบาทในฐานะผู้ประเมินบทบาทในการทบทวนนโยบาย บทบาทในการการบริหารหลักสูตรและการสอน บทบาทในการกำหนดตารางการปฏิบัติงาน บทบาทในการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ บทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร บทบาทในการประชาสัมพันธ์ บทบาทในการประสานสัมพันธ์กับชุมชน และบทบาทในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และ 4. คุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหารสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการบริหารจัดการซึ่งเป็นคุณธรรมที่มีอยู่ในตัวของผู้บริหาร การนำหลักธรรมมาปฏิบัติจนเป็นอุปนิสัยติดตัวประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมสำหรับตนเอง คุณธรรมจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติหน้าที่การบริหาร และคุณธรรมจริยธรรมสำหรับสังคม
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2540). การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน แปลจาก Learning: The Treasure Within. โดยศรีน้อย โพธิ์วาทองและคณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
ณัฐวิทย์ พรหมศร. (2555). ตัวการที่ทำให้การจัดการศึกษาไทยล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/491163
บรรจง ลาวะลี. (2560).“บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน”, วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2): 206.
ประกอบ คุปรัตน์. (2552). ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อและความหมาย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 11 ตุลาคม 2563. จาก http://pracob.blogspot.com/2009/11/blog-post_1389.html
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.
วิจารณ์ พานิช. (2558). ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิวงศ์.
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2537). พัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธเนศวรการพิมพ์.
ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.
ศศิรดา แพงไทย. (2559).“บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21”, วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 6 (1): 7.
สมพิศ สุขแสน. (2557). การบริหารและการจัดการ: ศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2563, จาก https://www.academia.edu
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120/ตอนที่ 52 ก.: 11 มิถุนายน.
Alvin Toffler. (1980). The Third Wave. New York: William Marror.