การปฏิวัติระบบวรรณะ (ศักดินา) ของพระพุทธเจ้า

Main Article Content

พระปลัดธนากร สนฺตมโน
พระราชปรีชามุนี
จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์
พิทยพล กองพงษ์

บทคัดย่อ

เจตจำนงของพระพุทธศาสนาเถรวาท ถ้ากล่าวถึงหลักคำสอนแล้ว ก็จะเน้นถึงเรื่องเกี่ยวกับความเสมอภาคของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ โดยบ่งชี้ไปที่ความรู้ดี และความประพฤติดี ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด กล่าวคือ บุคคลผู้มีความรู้ดี และความประพฤติดี เป็นผู้ประเสริฐที่สุดใน ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงตนเอง จากความเป็นปุถุชน ไปสู่ความเป็นอริยชนได้ ถ้าได้รับการศึกษา และได้พัฒนาที่ถูกต้อง ส่วนหลักคำสอนเรื่องวรรณะตามทรรศนะพระพุทธศาสนาเถรวาท มีเป้าประสงค์สำคัญก็คือ เพื่อแสดง ชี้แจง และสั่งสอนมวลมนุษยชาติให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องของการกระทำของมนุษย์ หรือเป็นเรื่องของกรรม ผลของกรรม วิธีปฏิบัติต่อกรรมได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุว่า ความชั่วของมนุษย์มิได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด ทรัพย์สมบัติ และวรรณะ แต่จะขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์ กล่าวคือ คนจะดี หรือไม่ดี ไม่ได้วัดกันด้วยการเกิดในวรรณะที่ดี หรือมีศักดินาเท่านั้น แต่จะวัดด้วยความประพฤติของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

พระปลัดธนากร สนฺตมโน, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระราชปรีชามุนี, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พิทยพล กองพงษ์ , Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557).พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). สู่การศึกษาแนวพุทธ. กรงุเทพฯ : สหธรรมิก.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2537).พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับ 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ.(2549). พุทธจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธรรมดา.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมกุฎราชวิทยาลัย.