นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษายุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นอย่างมาก การบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพตามมาตรฐานด้วยกระบวนการที่หลากหลายตามบริบท ทรัพยากรและศักยภาพที่สถานศึกษามีอยู่ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ประชาชน และหน่วยงานองค์กรในท้องถิ่น สถานศึกษาควรมีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษาให้ชัดเจน และดำเนินงานตามทิศทางที่สถานศึกษากำหนดไว้ ผลที่เกิดจากการดำเนินการตามทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษานั้นเป็นประสิทธิผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดการบริหารของตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษามีความทันสมัยสามารถบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้านดังนั้นในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง การนำนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาใหม่มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาซึ่ง ประกอบด้วย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management: SBM) องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เครือข่ายความร่วมมือ (Co-operate Networking) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) การบริหารสถานศึกษายุคดิจิตอล และการบริหารและกระบวนการบริหาร
Article Details
References
2561). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
______. (2550). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร
และการจัดการศึกษาพ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2561). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 NATIONAL
EDUCATIONCONFERENCE 1st Educational Management for Local Development towards ASEAN Community : New Direction in the 21 Century 1.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. อุบลราชธานี:
โรงพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.