บทบาทผู้นำต่อการบริหารจัดการประเทศในยุคแห่งเทคโนโลยี

Main Article Content

วิไลวรรณ วะปะแก้ว
สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำต่อการบริหารจัดการประเทศในยุคแห่งเทคโนโลยี พบว่า ผู้นำที่เน้นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น และเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีความสามารถในการสื่อสารวิสัยทัศน์ให้ผู้อื่นเข้าใจ มีแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร รวมถึงปรับเปลี่ยนทัศนคติการปฏิบัติงานของบุคลากรมีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้แก่กัน ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมร่วมกันในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เกิดนวัตกรรมทางการปฏิบัติงานที่แตกต่างออกไป และทำให้องค์การมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนหรือบูรณาการภายในองค์กร ให้สามารถเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงภายนอก และนำองค์กรและบุคลากรให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป และมีพฤติกรรมเฉพาะ 4 ประการ 1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence: II ) หมายถึง การที่ผู้นำประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง น่ายกย่องเคารพนับถือ และทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อร่วมงานกัน คุณลักษณะของผู้นำ คือ มีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ตาม สามารถควบคุมอารมณ์ได้ในสถานการณ์วิกฤต ประพฤติตนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม มีความเฉลียวฉลาด มีความตั้งใจ เชื่อมั่นในตนเองมีความแน่วแน่ในอุดมการณ์ 2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation : IM ) หมายถึง การจูงใจให้ผู้ตามเกิดแรงบันดาลใจ ให้ความหมายและท้าทายในเรื่องงานทำให้ผู้ตามมีชีวิตชีวา มีการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้น สร้างเจตคติที่ดีและการคิดในแง่บวก ผู้นำจะแสดงการทุ่มเทต่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ผู้นำอาจสร้างแรงบันดาลใจผ่านความเป็นปัจเจกบุคคล และการกระตุ้นทางปัญญา ซึ่งช่วยให้ผู้ตามสามารถจัดการกับอุปสรรคของตนเอง 3. การกระตุ้นทางสติปัญญา (Intellectual Stimulation : IS) หมายถึง การที่ผู้นำกระตุ้นผู้ตามให้ตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ทำให้ผู้ตามเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แสวงหาแนวทางใหม่ๆมาแก้ปัญหาในหน่วยงาน กระตุ้นให้ผู้ตามรู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถทำให้ผู้ตามเกิดความกล้าที่จะคิดสร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งใหม่และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration : IC) หมายถึง การที่ผู้นำให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล ทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำจะเป็นโค้ช(Coach) และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ผู้นำจะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้ตามและเพื่อนร่วมงานให้สูงขึ้น โดยการให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่

Article Details

บท
Articles
Author Biography

สัญญา เคณาภูมิ, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

Lecturer, Mahamakut Buddhist University Isaan Campus

References

กฤติยา จันทรเสนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คัชพล จั่นเพชร (2559). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นาแบบเปลี่ยนสภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานเชิง
สร้างสรรค์ผ่านความไว้วางใจบนพื้นฐานอารมณ์ความรู้สึกและความรู้ความเข้าใจ. วารสาร วิจัย ราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีที่ 11, ฉบับ ที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559) : 125-135.

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร:
โอเดียนสโตร์.
จิระพงค์ เรืองกุน. (2556). การเปลี่ยนแปลงองค์การ : แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์ , 5 ,194-203 .
ชมิดท์, อีริค และโคเฮน, เจเรด. (2014). ดิจิทัลเปลี่ยนโลก. แปลจาก The New Digital Age
โดย สุทธวิชญ์แสงศาสดา. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊กส์.
พิบูล ทีปะปาล. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
มนูญ ทยานานุภัทร์. (2553). การเปลี่ยนแปลงองค์กร. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2556, จากเว็บไซต์
http://peoplevalue.co.th/346/
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. วารสารสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี (2554). การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2554). บทบาทผู้นำองค์กรที่มีพนักงานวิชาชีพ.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย ปีที่ 31, ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) : 123-133.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นาเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
________________ . (2559). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.
มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน์. (2554). การจัดการองค์การและการบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกัญญา ตีระวนิช. (2539). คลื่นลูกที่สาม. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์.(2556). ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556, จาก
เว็บไซต์ http : // suthep. ricr. ac.th
Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1993). Transformational leadership: A response to critiques. In M.M.
____________________ . (2006). Transformational leadership. Mahwah, NJ: Erlbaum.
Bolden, R. (2004). What is leadership?, Research Report 1, Leadership South West, Centre for
Leadership Studies, University of Exeter.
Hicks, H.,&Gullett, C. (1987). Management (4th Edition), International Student Edition, McGraw-Hill, Inc.
Robbins, S. and Mary Coulter, M.( 2000). Management (7th Edition), Prentice-Hall International,Inc
Toffler Alvin. (1980). The Third Wave. New York: William Marrow.