การจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 2) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และกระบวนการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า
- แหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
พระธาตุแดนใต้ทั้ง 3 องค์ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุเจดีย์สนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระมหาธาตุวัดเขียนบางแก้ว ล้วนเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวภาคใต้
- พัฒนาองค์ความรู้ และกระบวนการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ พระธาตุแดนใต้ทั้ง 3 องค์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและสังคมชาวภาคใต้ มีการพัฒนาองค์ความรู้และมีกระบวนการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สามารถนำไปสู่การจัดการฐานข้อมูลและองค์ความรู้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
- รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ ควรมีกระบวนการจัดการตามแบบวงจรคุณภาพ (PDCA) และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะเป็นรูปแบบที่สามารถช่วยให้การจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพระธาตุแดนใต้ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
Article Details
บท
Research Articles
References
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. (2534). จังหวัดของเรา ๑๔ จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๔๔.
บัว สนสร้อย. (ม.ป.ป.). นำทัศนาจร วัดพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2547). พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชกับการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร. (2505). เล่าความเป็นเส้นทางเดินไปสู่กรุงสทิงพาราณสีโบราณ : พระอวโลิเตศวรโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ผู้มองดูโลกด้วยความเมตตาจิต. สงขลา: โรงพิมพ์วินิจการพิมพ์.
ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. (2534). จังหวัดของเรา ๑๔ จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๔๔.
บัว สนสร้อย. (ม.ป.ป.). นำทัศนาจร วัดพระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2547). พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชกับการวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เยี่ยมยง สุรกิจบรรหาร. (2505). เล่าความเป็นเส้นทางเดินไปสู่กรุงสทิงพาราณสีโบราณ : พระอวโลิเตศวรโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ผู้มองดูโลกด้วยความเมตตาจิต. สงขลา: โรงพิมพ์วินิจการพิมพ์.