ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของครู กลุ่มโรงเรียนหนองหาน 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู กลุ่มโรงเรียนหนองหาน 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียนหนองหาน 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 170 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มโรงเรียนหนองหาน 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 จำนวน 118 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ด้าน 36 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู กลุ่มโรงเรียนหนองหาน 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งผลผลิต ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบสายกลาง ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบตามสบาย ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบทีม ด้านพฤติกรรมแบบพ่อแม่ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์
Article Details
References
กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กิตติ์กาญจน ปฏิพันธ. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร
สถานศึกษาอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เชษินีร์ แสวงสุข (2560) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความ
พึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.
ดวงแขง ขำนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
ราชภัฎนครราชสีมา.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารยุคปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วุฒิชัย พรมเนตร. (2559). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผนําการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการกล่มวิทยาลัยในเครือไทย – เทค.
บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สมคิด นาคขวัญม, ชูศักดิ์ เอกเพชร, เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง (2561) ความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตาม
ความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความ
มีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่
ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู.บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี
อนงนาฎ บรรหาร, สมนึก ทองเอี่ยม, สมุทร ชำนาญ (2560) การบริหารงานตามหลัก
ธรรมาภิบาลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (2017) : มกราคม - มิถุนายน 2017
อะห์มัด ยี่สุ่นทรง, รอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา
ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี