การศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3

Main Article Content

กฎชกร คำเห็น
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
นนทชนนปภพ ปาลินทร
ภรณี แก้วลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ เด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 2 (ถนนบำรุงเมือง) สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม จำนวน 29 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ 1) ชุดกิจกรรมการเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R 3) แบบประเมินทักษะความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R ที่มีต่อความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1 /E2) เท่ากับ 80.26/83.79 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิตของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R สูงกว่าการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการเล่านิทานในรูปแบบการสอนแบบ SQ3R สูงกว่าการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

นนทชนนปภพ ปาลินทร , อาจารย์ ดร.,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี

Ratchathani University

ภรณี แก้วลี, Ratchathani University

Ratchathani University

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. (2562). รายงานประจำปี 2562. นครพนม: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม.

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2555). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. เอกสารประกอบการเรียนการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จิราภรณ์ สกุลเหลืองอร่าม. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไผ่ดำวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ระหว่างกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิค SQ3R กับกลุ่มที่สอนด้วยเทคนิค KWLH-plus. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนาธิป บุบผามาศ. (2553). การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน อีสปประกอบคําถาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

นฤมล จิ๋วแพ. (2553). ผลการเลานิทานประกอบภาพที่มีตอพฤติกรรมความเอื้อเฟอของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง สมองของเด็กพิเศษ: แนวคิดใหม่ ในการกระตุ้นกลไกฟื้นตัวตามธรรมชาติของสมอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิมปภา ร่วมสุข. (2558). การสร้างสื่อนทิานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมด้านความมีน้้าใจในเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิมพ์สิริ เจริญกิจ. (2554). การพัฒนาชุดการสอนอ่านจับใจความภาษาไทย ที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ราศี ทองสวัสดิ์. (2559). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาปฐมวัยในประมวลสาระชุดวิชาการ บริหารสถานศึกษาปฐมวัย. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิสามาส ขันชัยภูมิ. (2553). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน ชั้นอนุบาลปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bar –Taf et al. (2012). Organization Development & Change. Mason, OH: South Western.

Isquith et al. (2014). (How learning works: Seven research-based principles for smart teaching. United State of America: Jossey-Bass.

Rubin and Maion. (2005). Thinking Sex: Notes for a Radical Theory of the Politics of Sexuality. New York: Routledge.