ผลจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทารามสังกัดกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดศรีสะเกษ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดจันทาราม สังกัดกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2563 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา หน่วยการเรียนเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การสอนแบบ CIPPA จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั้วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details
References
ชริณี เดชจินดา . (2556). ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อศูนย์กําจัดกากอุตสาหกรรม
แขวงแสมดํา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
มหิดล .
_____. (2542) การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา
CIPPAMODEL),วารสารวิชาการกรมวิชาการ,
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวิทย สินธุระหัส. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องลายไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีตอวิธีสอนแบบซิปปา
บัณฑิตวทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Art_Ed/Worawit_S.pdf
วิชัย เหลืองธรรมชาติ. (2555) ความพึงพอใจและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ของ
ประชากรในหมู่บ้านอพยพ โครงการเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) จังหวัด
สุราษฎร์ธานี.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
สุวิทย์ มูลคํา (2547), ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อศูนย์การจัดกากอุตสาหกรรม
แขวงแสมดา เขตบางขุนเทียนจังหวัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหิดล.
เบญจภรณ์ ยานารมย์ (2553), เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, กรุงเทพฯ :เทพเนรมิต
การพิมพ์
เลิศศิริ เต็มเปี่ยม(2554),การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ
: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุชีลา เพชรแก้ว. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และ
ความพึงพอใจต่อวิชาศิลปะพื้นฐาน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบซิปปา
กับแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 2 (ฉบับที่1), 72. สืบค้นจาก https://www.npu.ac.th/npujournal/files_research/9/2-1_10.pdf
อดิศร ศิริ. (2543). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้
โมเดลซิปปา. สำหรับวิชาชีววิทยา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น