ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 7 E เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ศิรินภา รูปแก้ว
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
อำไพ สวัสดิราช
ประสิทธิ์ นิ่มจินดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 7 E เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา ในด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ทักษะการทำงานกลุ่ม และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 7 E เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 7 E 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา มีค่าอำนาจจำแนกความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 3) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่มมีค่า IOC เท่ากับ 1 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้มีค่า IOC เท่ากับ 1 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test แบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ 7 E เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา ด้านสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับสูง ด้านความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม , Ratchathani University

Ratchathani University

อำไพ สวัสดิราช , Ratchathani University

Ratchathani University

ประสิทธิ์ นิ่มจินดา, Ratchathani University

Ratchathani University

References

บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2542). กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์. นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสาท เนืองเฉลิม. (2550, ตุลาคม-ธันวาคม). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. วารสารวิชาการ.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 10(4): 25-30.

พัชรี แจ่มใส และคณะ. (2552). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาดีวิทยา ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2552 โดยใช้การสอนแบบ SICAR. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

วาชินี บุญญพาพงศ์, (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พืชและสัตว์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การเรียนการวิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ รูปแบบ 5Es [ชุดซีดีรอมประกอบหนังสือ].กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การการจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2545). ความเข้าใจเกี่ยวกับสอนสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Eisenkraft, A. (2003). “Expanding the 5E Model a proposed 7E model

emphasizes transfer of learning and the importance of eliciting

prior understanding.” Journal of the Science Teacher, no. 70: 56-59.