การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

ปัญจพล ไพรหลวง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4  จำนวน 88 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 ทุกด้านและโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีส่วนร่วมสูงสุดคือด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโสมสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 ของโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานงบประมาณ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยโรงเรียนขนาดเล็กคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ ส่วนด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ และภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.

กรุงเทพฯ : วี อินเตอร์ พริ้นท์.

ประดิษฐา จันทร์ไทย. (2542). การศึกษาการปฏิบัติงานของสมาคมผู้ปกครองและครูใน

กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนี เทียมศักดิ์. (2543). บทบาทของผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : วิทยาจารย์.

มนตรี แก้ววิจิตร. (2545). การเข้าไปมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยรรยง แก่นสาร. (2545). การมีส่วนร่วมตัดสินใจในการบริหารงานโรงเรียนของข้าราชการ

ครูสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพจน์ พลหาญ. (2545). การปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น

พื้นฐานในทัศนะผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุเทพ ไผ่ล้อม. (2548). ความต้องการและการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของ

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว

เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสาวลักษณ์ ตันติพิบูลทรัพย์. (2545). ภาพลักษณ์โรงเรียนตามการรับรู้ของผู้ปกครอง

นักเรียนโรงเรียนบวรรัตนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการ

บริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ.

. (2544). การดำเนินการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. คณะกรรมการ

สถานศึกษา. (อัดสำเนา).

อรรถพร ผดุงศักดิ์ชยกุล. (2547). การมีส่วนร่วมและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนในการจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Wohlstetter. P. (1995). Getting School-based management right. Phi Delta

Kappan. 77 (1) : 22-25.