วิเคราะห์การตีความคัมภีร์บาลีของพระสิริมังคลาจารย์

Main Article Content

กรภพ สีสัน
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์การตีความคัมภีร์บาลีของพระสิริมังคลาจารย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การตีความคัมภีร์บาลีของพระสิริมังคลาจารย์ ผลการวิจัยพบว่า เป็นงานรจนาประเภทอัตถสังวัณณนา มีการอรรถาธิบายคำศัพท์และความหมาย ด้วยการวิเคราะห์ศัพท์ วิเคราะห์ไวยากรณ์ แสดงความหมาย วิธีการเชื่อมด้วยสาธกโวหาร วิธีการอ้างอิงหลักฐาน วิธีการนำเสนอทัศนะที่ต่างกันและวิธีการยกสำนวนสนับสนุนงานรจนา มีวิธีตีความทางพระพุทธศาสนาสอดคล้องกันทั้งความหมายและหลักการ โดยหลักตีความที่ใช้ในการวิจัยนี้ มีดังนี้ 1) การตีความตามหลักระพุทธศาสนา ใช้หลัก 4 ประการ คือ ตีความตามพระสูตร การตีความตามสุตตานุโลม การตีความตามอาจาริยวาท และตีความตามอัตโนมติ 2) การตีความตามคัมภีร์มหานิทเทศ ด้วยองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ บทอุทเทส นำบทตั้งที่มีมาแต่คัมภีร์เดิมมาแสดงบทนิทเทส และบทปฏินิทเทส 3) ตีความตามคัมภีร์เนตติปกรณ์ ประกอบด้วย 16 หาระ 5 นัย และสาสนปัฏฐาน 4) วิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ยุคใหม่ 3 ประเด็น คือ
(1) กลุ่มทฤษฎีที่เห็นว่าความหมายสมบูรณ์อยู่ที่ผู้สื่อความหรือผู้เขียน ได้แก่คัมภีร์ปฐมภูมิ คือพระไตรปิฎก (2) กลุ่มทฤษฎีที่เห็นว่า ความหมายสมบูรณ์อยู่ที่ตัวบทหรือคัมภีร์ คือคัมภีร์ชั้นรอง อรรถกถา ฎีกาและสัททาวิเสส (3) กลุ่มทฤษฎีที่เห็นว่าความหมายสมบูรณ์อยู่ที่ผู้อ่าน หมายถึงความเห็นของผู้สื่อความ การตีความพระบาลีที่พระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาแล้วนั้น พบว่า สามารถตีความได้ครบทั้ง 4 หลัก อันสมบูรณ์ทั้งโดยอรรถะ โดยพยัญชนะ งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏํ 2500.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2544). พระไตรปิฏกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

กรมศิลปากร (2540). เวสสันตรทีปนี ภาคภาษาไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

คุณารักษ์ นพคุณ. (2544). เนตติปกรณ์แปล และเนติสารัตถทีปนี. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

ธีรโชติ แก้วเกิด. (2556). มิลินทปัญหาฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญหนา สอนใจ. (2523). สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา : การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสิริมังคลาจารย์. (2538). มงฺคลตฺถทีปนี ทุติโย ภาโค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

______. (2538). มงฺคลตฺถทีปนี ปโม ภาโค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

______. (2541). เวสสันตรทีปนี ภาคภาษาบาลี. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนการพิมพ์.

______. (2546). สงฺขฺยาปกาสกปกรณ-ฏีกา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2523). จักกวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : หจก เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรสศึกษาการพิมพ์.

มหากจฺจายนเถร (2550). เนตฺติปกรณ์. แปลโดย พระคันธสาราภิวงค์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์.

สยาม ราชวัตร. (2557). การตีความพุทธประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. วารสารมนุษยศาสตร์สาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1. (มกราคม-มิถุนายน 2557).

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.