การเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อการศึกษาหลักธรรมในการสร้างความสันติสุขท่ามกลางพหุวัฒนธรรมในอีสานใต้ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างสันติสุขชุมชนท่ามกลางพหุวัฒนธรรมในอีสานใต้ 3) เพื่อศึกษาการสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในโซนอีสานใต้ ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรคือ 1) ชุมชนบ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ชุมชนบ้านอ้ออุดมสิน ตำบลไพล อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา 3) ชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 4) ชุมชนทนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 50 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดและหลักธรรมในการสร้างสังคมสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม ชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันประชาชนและนำวิถีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเหตุทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เพราะเกิดกิจกรรม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตามมาหลากหลายกิจกรรม 2) ปัจจัยที่มีส่วนในการสร้างชุมชนสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า วิธีการบริหารความขัดแย้งของชุมชนในอดีต ผู้นำชุมชนจะไกล่เกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณี โดยไม่ให้ความขัดแย้งไปถึงเจ้าหน้าที่ในระดับที่เหนือขึ้นไป ด้วยอาศัยความร่วมมือกัน ความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชน 3) การสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม พบว่าการสร้างชุมชนสันติสุขในอีสานใต้ของชุมชนทั้ง 4 ต้องอาศัยพลังบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน/หน่วยราชการ) 3 องค์กรหลักในการสร้างชุมชนแบบมีส่วนร่วม 4) การเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนสันติสุขในโซนอีสานใต้พบว่าเครือข่ายสังคมสันติสุขในอีสานไต้ ชุมชนในพื้นที่ทั้งสี่ชุมชนใช้รูปแบบพลัง (บวร.)ในการสร้างเครือข่าย องค์การปกครองท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ในการประสานเครือข่ายข้างนอก และสร้างความร่วมมือในภาครัฐและเอกชน วัดมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมเครือข่ายชุมชนคอยให้คำชี้แนะและขัดเกลาชุมชน สถานศึกษา
Article Details
References
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว). (2547). ความรู้จักพอประมาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2547)“พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตาม แนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มงคล สายสูง. (2546). การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตำบลน้ำเกี๋ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุตรดิตถ์.
ยุววัฒน์ วุฒเมธี. (2555). แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เฉิลมพระเกียรติพระ เจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม.
กรุงเทพฯ :.ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วิลาศ โพธิสาร. (2552). การปรับตัวทางสังคมของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
¬¬_____., (2548), การปรับตัวของชาวกูยในบริบทพหุวัฒนธรรมเขตอีสานใต้, รายงาน
การวิจัย, ทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวง
วัฒนธรรม.