ผลิตภัณฑ์จากเชือก:รูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนาสัมมาชีพสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

มนัสพล ยังทะเล
พระครูใบฏีกาหัสดี ประกิ่ง
พระครูภัทรจิตตาภรณ์
พระครูอัครศีลวิสุทธิ์ (ไกรจรัส)
เบญญาภา จิตมั่นคงภักดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ค่านิยม และกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือกในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อพัฒนาสัมมาชีพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (การผลิตเชือก) สู่สากลในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนาสัมมาชีพผลิตภัณฑ์จากเชือกสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหา ค่านิยม และกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือกในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมจักสานเชือกทั้ง 4 กลุ่ม ตามแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมถักสานและการผลิตสินค้าชุมชน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพปัญหา ค่านิยม และมีกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือก พบปัญหาที่สำคัญในด้านการตลาด ช่องทางการจำหน่ายที่จะสร้างค่านิยม และกระบวนการผลิต การออกแบบและตราสินค้าที่ยังขาดแบบแผนและแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 2) การพัฒนาสัมมาชีพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (การผลิตเชือก) สู่สากลในจังหวัดนครราชสีมา ขาดเงินทุนและปรงงานในการผลิต ไม่มีสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม ขาดการประชาสัมพันธ์ ไม่มีโอกาสนำสินค้าไปร่วมในงานแสดงสินค้าเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มมีการกำหนดราคาสินค้าไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) รูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนาสัมมาชีพผลิตภัณฑ์จากเชือกสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา รูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรมผลิตเชือกและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเชือกที่งานมีความละเอียด ประณีต คงทนและสวยงาม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและทรัพยากรที่จัดซื้อมาจากโรงงาน  เช่น เชือกร่ม เชือกมัดฟาง เชือกไนล่อน และเชือกเส้นพาลสติก เป็นต้น การแนะนำแนวทางการบริหารจัดการกลุ่ม จึงกลายเป็นแรงเสริมให้กลุ่มได้รับการพัฒนาต่อยอด ให้กลุ่มมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้โดยมีวัตถุประสงค์ และกระบวนการบริหารจัดการอย่างชัดเจน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2528). คู่มือสอนจริยศึกษาระดับวิทยาลัย (ฉบับ

ทดลอง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ณภัทร หงษ์ทอง. (2548). ภูมิปัญญากับการสร้างพลังชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา

สิรินทร.

นวลลออ ทินานนท์. (2544). การศึกษางานหัตกรรมพื้นบ้านในจังหวัดนครนายก.กรุงเทพฯ:

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). เครื่องจักสานในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งส์ เฮาส์.

Kittiphun Khongsawatkiat (2002) “Isan Studies: “One Tambon, One Product" A

Government Policy Recovers Farmers' Debts and Fragile Rural Sector in Northeastern of Thailand" Presented in the 8 th Conference on Thai Studies at Nakhon Phanom River View Hotel, Nakhon Phanom Province, Organized by Ramkhamheang University (9 – 12 January 2002).