การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ อริยะสุนทรกุล
อภิชาติ ใจหาญ
พระวิชาญ จูมครอง

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 398 คน (Yamane,1973:125) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้การสอบถามด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Online Platform Questionnaires) สอบถามการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาซึ่งทำการพัฒนาต่อยอดจากเครื่องมือที่ออกแบบไว้โดย พรปณต ปกครอง (2549) ทำการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและอธิบายลักษณะข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 41-50 ปี ที่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา โดยประกอบอาชีพเกษตรกรและมีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 6,535.20 บาท โดยพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในระดับปานกลาง โดยใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการเต็มใจที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

พรปณต ปกครอง. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2560). เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2550. อัดสำเนา.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา. 261.

ศุภชัย ทาคำ. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นในการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งของนิสิตนักศึกษาไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Milbrath, L.W. and M.L. Goel. (1977). Political Participation: Why and How People Get Involved in Politics. Chicago: Rand Mcnally College Publishing Co.

Yamane, T. 1973. Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice Hall.