การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา โมเดล(CIPPA Model) ร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศศิพิมล อินธิแสง
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับแบบฝึกทักษะให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น ( Pre-Experimental Research ) แบบกลุ่มเดียววัดหลังผลหลังเรียน (One Shot case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาโมเดลร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลร่วมกับแบบฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24 คิดเป็นร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 82.86 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้    2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาโมเดล ผลความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.81, S.D. = 0.39)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีดังนี้ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ ผลความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.85, S.D.= 0.36)  ด้านจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ผลความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.8, S.D. = 0.42) และด้านประโยชน์ และการนำไปประยุกต์ใช้ ผลความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.79, S.D. = 0.41) ตามลำดับ


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กษิรา บุญพันธ์,ภาสกร เรืองรอง (2557). การพัฒนาบทเรียนบนแท็บเล็ตพีซี เพื่อส่งเสริมการ

อ่าน สะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนา

ชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), Volume 7, Issue 2, pp. 1-11

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตรการสอนองคความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปัทมา เล็กยินดี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแปลความ และทักษะ

การตีความ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วย

รูปแบบซิปปา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

พรหมพิริยะ ปินะกาโพธิ์ (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, Volume 17, Issue 1, pp.

-98

ลีนวัฒน์ วรสาร .(2560).การพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรูปแบบ

กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคงทนในการเรียนรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียน

การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุณี กฤตสิน. (2542). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะวิชาการภาษาไทยกิจกรรมขั้นตอนที่ 5

เรื่อง อ้อยอมยิ้มประกอบการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม, มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.