การศึกษาภาวะผูนําเชิงเทคโนโลยีของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 346 คน โดยกำหนดขนาดของตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t และการทดสอบ F ความแตกต่างทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร คือ (1) ควรไดรับการพัฒนาโดยการฝกอบรมเปนระยะๆ รวมทั้งไดรับการส่งเสริมใหมีการประกวดและการออกแบบสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอน (2) ควรพัฒนาตนเองใหมีความเปนผูนําและมีวิสัยทัศนดานเทคโนโลยี การศึกษาดูงานจะทําใหผูบริหารสถานศึกษาเกิดแนวคิด แรงผลักดัน (3) ควรไดรับการพัฒนาด้วยการทดสอบความสามารถในการใชเทคโนโลยีในการบริหารของผูบริหารสถานศึกษา (4) ควรไดรับการพัฒนาการจัดการและการปฏิบัติโดยใชเทคโนโลยี สนับสนุนการใชประโยชนจากเทคโนโลยีในการจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีในการเรียนรูอยางตอเนื่อง (5) ควรไดรับการพัฒนาใหมีความรูความสามารถในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา (6) ควรไดรับการพัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาชีพ ผลักดันใหมีนโยบายดานจริยธรรมในการใชเทคโนโลยี และ (7) ควรเป็นตนแบบของการใชเทคโนโลยีอยางมีคุณธรรม และไมละเมิดการใชทรัพยากรคอมพิวเตอรโดยที่ตนเองไมมีสิทธิ์
Article Details
References
กัลยา กิตยวัฒน์. (2561), การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในอำเภอหาดใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563), “ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2,” วารสารการบริหาร
นิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถิ์. 6, 4 (กรกฎาคม –
สิงหาคม 2563): 137.
บรรจบ บุญจันทร์. (2554), โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535), การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทรา ธรรมวิทยา. (2558), “การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน
เอกชนระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี,”วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 10, 1: 9.
ศรุตตา แววสุวรรรณ และอุไร สุทธิแย้ม. (2564), “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการ
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1,”มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 6, 4 (มีนาคม-เมษายน 2564): 186.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560), นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุเหด หมัดอะดัม. (2562), “ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิด
เห็นของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา,” ใน: สุนทรี วรรณไพเราะ. บรรณาธิการ. The 20th National Graduate Research Conference. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20; 15 มีนาคม 2562; ขอนแก่น. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2562. หน้า 1,905-1,915.
อดิศักดิ์ ดงสิงห์. (2561), แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological
Measurement. New York : Minnisota University,
Wajeeha Aurangzeb.(2019) “An Exploration of College Principals’ Technology
Leadership Competency Assessment”. Global Social Sciences
Review. 4, 2 : 222-223.