ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับ ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12

Main Article Content

วิจิตรา ชูพันธ์
อรรครา ธรรมาธิกุล
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา  2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12  กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยการแจกแจงความถี่ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านระบบสนับสนุนในโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกันและค่านิยม 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากและมากที่สุด สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การนิเทศการศึกษา 3. ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำโดยมีค่า R = .152 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

จิตติพร จิตตรี. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทาง

การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3.

บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช.

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู

ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการ

เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาเลย เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ดลนภา วงษ์ศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทิภาพ

การสอนของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

นภัทร ทรัพย์ชม. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อ

ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพล อินนอก. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. เอกสารส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32, บุรีรัมย์.

สุพัศพงษ์ อนุชิตโสภาพันธุ์. (2556). ปัจจัยและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนฤ

ทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพฯ:.สำนักงานเขตสายใหม่

วิจารย์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสด

ศรี-สฤษดิ์วงศ์.

หนูฤทธิ์ ไกรพล. (2558). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

อรัญ มูลบุญ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 27. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.