การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จรวย แม่นธนู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัด การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสร้างนกทาวิทยาคมที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ระยะเวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด การเรียนรู้ 7 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า R-TAEP-C Model ซึ่งมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม (Review: R) ขั้นที่ 2 สอนให้คิด/กระตุ้นให้คิด (Teaching ideas: T) ขั้นที่ 3 ฝึกทักษะ (Action: A) ขั้นที่ 4 ประเมินค่าผลงาน (Evaluation: E) ขั้นที่ 5 นำเสนอผลงาน (Presentation: P) และขั้นที่ 6 สรุป (Conclusion: C) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.44/81.54 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการเรียนด้วยรูปแบบที่สร้างขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการเรียนด้วยรูปแบบที่สร้างขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับ มากที่สุด


          

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพ ฯ :

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี : โรงพิมพ์สหพริ้นติ้ง,

ดุสิตา แดงประเสริฐ. (2549). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการเขียนสรุป

ความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร,

ธนพร ยมรัตน์. (2547), ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคปริศนาตามที่มี

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันราชภัฎนครสวรรค์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556), การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิค

พริ้นติ้ง.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547), การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.

พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ภฤดา เลียบสูงเนิน. (2550), ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD เรื่อง สารและสมบัติของสารกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิมลนันท์ ศรีภูธร. (2559), ผลการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความสามารถ

ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2546), การจัดสาระการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : รัชกรมย์.

สุพัชยา ปาทา. (2554), การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถใน

การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

โดยใช้เทคนิค TGT และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2551), เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น :

คลังนานาวิทยา.

สุวิทย์ มูลคํา. (2554), การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ : อี เค บุ๊คส์.

อมร เรืองไพศาล. (2554), การประยุกต์การจัดกิจกรรมการเรียนรูตามทฤษฏีการสร้างองค์

ความรูกับการเรียนรูโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการ

เปลี่ยนแปลงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Arends, R.J. (1994). Learning to teach. 3rd ed. New York : Mcgraw - Hill,

Bloom, Benjamin S. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook : Cognitive Domain. New York : David Mckey Company. Inc,