กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในด้านโครงสร้างของการ์ตูน ในนิตยสารทางอีสาน

Main Article Content

เอกลักษณ์ คงทิพย์
นิตยา วรรณกิตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในด้านโครงสร้างของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน โดยศึกษาจากคอลัมน์การ์ตูน“ข่วงบักจุก”ของจุกชายคา ในนิตยสารทางอีศานตั้งแต่ฉบับที่ 1 เดือนพฤษภาคม 2555 ถึง ฉบับที่ 100 เดือนสิงหาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 100 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในด้านโครงสร้างของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศาน มีรูปแบบการนำเสนอโดยใช้โครงสร้างการ์ตูนแบบ 3 ช่อง ทั้งหมด โดยที่ผู้เขียนจะไม่มีการใช้เส้นกรอบหรือขีดเส้นเพื่อแบ่งการ์ตูนให้เป็นช่องๆ ซึ่งส่วนประกอบของการ์ตูนในนิตยสารทางอีศานประกอบด้วย ภาพและตัวหนังสือหรือถ้อยคำ ภาพประกอบเป็นภาพวาดลายเส้นง่ายๆ ที่ไม่ได้ลงรายละเอียดมาก มีตัวละครประจำเป็นภาพบุคคล 2 คน บางครั้งมีการวาดภาพฉากประกอบ สำหรับตัวหนังสือหรือถ้อยคำนั้นมีทั้งที่เป็นคำสั้นๆ เป็นวลี หรือเป็นประโยค ขึ้นกับบริบทของการนำเสนอแต่ละคอลัมน์ รูปแบบโครงสร้างของการ์ตูนในการนำเสนอ ผู้วิจัยได้ประยุกต์กรอบการวิเคราะห์ทางภาษาเพื่อศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างทางภาษาในการนำเสนอการ์ตูน ปรากฏ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ แบบถามตอบ และแบบสนทนาโต้ตอบ


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). “ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม”. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2530). “เขียนไทย”. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโดร์.

วัชรพงศ์ หงษ์สุวรรณ. (2545). “การวาดภาพการ์ตูน”. กรุงเทพ : วาดศิลป์.

วรรณวรพงษ์ หงส์จินดา. (2538). “การ์ตูนอารมณ์ขันไม่มีวันตาย”. ศิลปวัฒนธรรม. 16(9) : 65–61, สิงหาคม.

อ้อมทิพย์ มาลีลัย (2560). “เรื่องเล่ามุขตลกลาว: ความขบขันทางภาษากับการสื่อความหมายทางสังคม”.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). “กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย”. วารสารมนุษยศาสตร์, 23(1), 162-163.