การใช้ภาษาจินตภาพเพื่อนำเสนออุดมการณ์ในบทอาขยานภาษาไทย

Main Article Content

กนวรรณ อโนนาม
กีรติ ธนะไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาจินตภาพเพื่อนำเสนออุดมการณ์ในบทอาขยานภาษาไทย ผลการวิจัยสรุปว่า พบอุดมการณ์ 3 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์ชาติ อุดมการณ์เด็กดีและอุดมการณ์การเรียนรู้ อุดมการณ์ชาติแบ่งเป็น 3 ชุดความคิด ได้แก่ อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับความรักชาติ อุดมการณ์ที่เกี่ยวกับศาสนาและอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำหรับอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับความรักชาติ มีการใช้ภาษาจินตภาพที่เข้าใจง่าย และสื่อความรักชาติผ่านเอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่วนอุดมการณ์รักชาติที่เกี่ยวกับศาสนา มีการใช้ภาษาจินตภาพที่กล่าวถึงการเคารพบูชาศาสนา และการยึดมั่นในหลักปฏิบัติของศาสนา และอุดมการณ์รักชาติที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มีการนำเสนอผ่านภาษาจินตภาพด้วยถ้อยคำเรียบง่ายที่เร้าให้เกิดความเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาการปลูกฝังอุดมการณ์เด็กดีนำเสนอภาษาจินตภาพที่มุ่งเน้นปลูกฝังเรื่องการทำความดี สำหรับอุดมการณ์การเรียนรู้นำเสนอด้วยภาษาจินตภาพที่สื่อความหมายถึงการเรียนรู้อย่างชัดเจน และการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นผลดีของการศึกษาเล่าเรียน รวมทั้งมีการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอความสำคัญของการมีวิชาความรู้

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษา. (2558). หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

บทอาขยานภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562, จาก : http://lib.edu.chula.ac.th/pdf.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

กีรติ ธนะไชย. (2561). เอกสารประกอบการสอน หัวข้อ 4.1.3 ศิลปะการใช้ภาษาและกลวิธี

ทางวรรณศิลป์ 0161512. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐมา ศุภชนานันท์. (2560). การสร้างอุดมการณ์ผ่านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในแบบเรียน

พระพุทธศาสนา. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

นิตยา แก้วคัลณา. (2551). การสืบสรรค์จินตภาพในกวีนิพนธ์ไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

ปาริชาต คงสังข์. (2556). จินตภาพกับการตีความเรื่องสั้นและนวนิยายของประชาคมลุนาชัย สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุวพาส์ ชัยศิลป์วัฒนา. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไข

เพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

อัปสร สุวรรณรอด. (2544). คุณค่าในบทอาขยานภาษาไทยระดับประถมศึกษา,

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.