แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็ก และเยาวชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์
จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์
พัชรีภรณ์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหายาเสพติดและกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชุมชนแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 387 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสาเหตุมาจากปัจจัยภายในชุมชน ด้านตัวเด็ก ภายนอกชุมชนและด้านครอบครัว 2) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน ได้แก่ การเริ่มจากที่ตัวเด็กเป็นลำดับแรก โดยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง ไม่ไปทดลองใช้ยาเสพติด มีทักษะในการปฏิเสธเพื่อนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด สร้างความเข้าใจให้แก่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนถึงวิธีการปฏิบัติหากพบว่าเด็กและเยาวชนติดยาเสพติด รวมถึงการจัดตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติดในชุมชน


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณทิวา มุณีแนม, (2562) , “แนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี”, ,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กร วิชาการสารเสพติด, (2555), “โครงการสำรวจคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน : ประมาณการจำนวนประชากรใช้ยาเสพติดในประเทศไทย”, กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

จุลจีรา จันทะมุงคุณ, ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์และณัฐิกา ราชบุตร, (2563), “ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมี

ส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ”, วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย , 28(4) :304-316.

ณัษฐนนท ทวีสินและอานนท์ ทวีสิน, (2560), “แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 8(1) : 151- 158.

ดนัยพร เยี่ยมสุริยงค์, (2560), “สถานบำบัดยาเสพติดด้วยกระบวนการชุมชนบำบัด”, กรุงเทพฯ : สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บังอร เทพเทียนและกรวีร์ ไพรอด, (2562),“การนำนโยบายประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคงปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ.2559–2560 ไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร”, วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5): 828-844.

บุญชม ศรีสะอาด, (2556),“วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1”, พิมพ์ครั้งที่ 5,กรุงทพฯ

: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ, (2563) , “นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ”, กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ภารณี นิลกรณและประพันธ ขันติธีระกุล, (2562), “การประเมินผลรูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดรายใหม่ในเยาวชน โดยความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จังหวัดนครปฐม”, ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรางคณา จันทร์คงและปาจรีย์ ผลประเสริฐ, (2561), “แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน นอกสถานศึกษา ในจังหวัดกําแพงเพชร”, วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(1) : 65-74.

วิไลลักษณ์ ลังกา, อรอุมา เจริญสุข, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์และกัมปนาท บริบูรณ์, (2562), “การวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันของปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยภูมิคุ้มกันและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)”, วารสารการจัดการ ทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1) : 28-43.

สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ, (2563), “ประชากรและโครงสร้างประชากร จังหวัดชัยภูมิ”, ชัยภูมิ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ, (2563), “สถานการณการใชยาเสพติดของเด็กและเยาวชน จังหวัดชัยภูมิ”, สืบค้นจาก : https://cpho.moph.go.th/?page_id=11800 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564.

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, (2563) , “แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๗”. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์.

สุภางค์ จันทวานิช, (2553), “วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ”, พิมพ์ครั้งที่ 18 , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวปรียา จันต๊ะ, (2562), “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่” วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(1) : 16-29.

อธิพงษ์ ตันศิริ, (2560), “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศึกษากรณี อำเภอแกลง จังหวัดระยอง”,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W, (1970), “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement.

Hoffman, J.P., (2006), “Family structure, community context, and adolescent problem behaviors”, Journal of Youth and Adolescence, 35: 867-880.

Junge, S.K., Manglallan,S. &Raskauskas, J., (2003), “Building life skills through After school participation in experiential and cooperative learning”, Child study journal, 4(2): 218-230.

Steinberg, L., (2007), “Risk taking in adolescence: New perspectives from brain and behavioral science”, Current Directions in Psychological Science, 16(2): 55 - 59.

Tafa, M., & Baiocco, R.,(2009),“Addictive Behavior and family functioning during adolescence”, The American Journal of Family Therapy, 37: 388-395.