ปัจจัยในการธำรงรักษาข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สนธชัย ระยับศรี
บุญเอื้อ บุญฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพ ปัจจัยในการธำรงรักษาข้าราชการครูและเป็นข้อมูลในการนำเสนอการปรับปรุงนโยบายด้านการธำรงรักษาข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน ผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง เสริมด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากการให้ความเห็นของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการธำรงรักษาข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความก้าวหน้าในอาชีพ หน้าที่รับผิดชอบ/ภาระงาน สภาพแวดล้อม ค่าครองชีพ/ภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนและอื่นๆซึ่งเป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่อยู่เหนือการควบคุม ข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการธำรงรักษาข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นปัจจัยรายด้านพบว่า ด้านหน้าที่รับผิดชอบ/ภาระงาน มีค่ามากที่สุด รองลงมาเป็นด้านสภาพแวดล้อม ด้านค่าครองชีพ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพและด้านอื่นๆ ตามลำดับ ผู้ให้ข้อมูลได้เสนอนโยบายในการธำรงรักษาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครว่า ควรมีแนวทางส่งเสริมให้ครูมีโอกาสด้านวิทยฐานะที่สูงขึ้น มีกระบวนการพัฒนาครูผู้ไม่ผ่านการประเมิน วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไปมาแล้ว 2 ครั้ง ให้ได้รับการช่วยเหลือหรือเยียวยาโดยมีเกณฑ์มาตรฐานกำหนด มีสวัสดิการบ้านพัก โบนัส เงินกู้สวัสดิการดอกเบี้ยต่ำเพื่อที่อยู่อาศัย โครงการบ้านยิ้ม และเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง เพื่อบรรเทาปัญหาค่าครองชีพที่ไม่สัมพันธ์กับรายได้ ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อน และจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการทำงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลทั้งเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา

Article Details

บท
Research Articles

References

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้:การจัดการเรียนการ

สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.

นวลนภา จุลสุทธิ. (2557). ความเป็นธรรมในการบริหารค่าตอบแทนของบุคลากรสายการ

สอนของมหาวิทยาลัยเขตราชภัฏเขตภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลใน

ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ราชกิจจานุเบกษา. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

พ.ศ.2547.

พสุธิดา ตันตราจิณและธีระวัฒน์ จันทึก (2559). การพัฒนาและการธำรงรักษาคนเก่งใน

องค์การ กลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์การสู่ความสำเร็จ. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2559. มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. [เข้าถึงเมื่อ 6

มิถุนายน 2561]; เข้าถึงได้จาก : https://tdri.or.th/2015/08/insufficient-teachers-in-small-schools-2/.

สุเทพ สุวีรางกูร. (2551). ปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 -2559). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2558). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อัมพร เพ็ชราช (2554). ตัวแบบกำหนดอัตราเงินเดือนพื้นฐานของข้าราชการที่ปรับตัว

ตามภาวะเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ

Howes Loene M., Goodman Jane and Delahunty Jane. (2015). Teachers'

career decisions: Perspectives on choosing teaching careers, and on staying or leaving. Issues in Educational Research. 2015, Vol. 25 Issue 1, p18-35. 18p.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Mäkelä Kasper, Hirvensalo Mirja and Whipp Peter (2015). Determinants of

Physical education(PE) Teachers Career Intentions. Journal of Teaching in Physical Education. Oct2015, Vol. 34 Issue 4, p680-699. 20p. 3 Charts.

Rebecca Allen and Sam Sims (2018). Factors Influencing Retention of Gen Y

and Non-Gen Y Teachers Working at International Schools in Asia. Journal The Educational Forum Volume 82, 2018 - Issue 1.