ศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์ในพระธาตุหนองบัวต่อความเชื่อเรื่องบุญบาป ของชาวพุทธในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

Main Article Content

ลือชัย เลพล
ทิพย์ภวิษณ์ ใสชาติ
พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

พุทธศิลป์เป็นศิลปะทางพุทธศาสนาที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในอดีตและปัจจุบันจน ได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและเทคโนโลยี ได้แก่ ภาพเขียนภาพวาด สถาปัตยกรรมภายในวัด เจดีย์และบ้านเรือน โบราณคดี โบราณสถานและ โบราณวัตถุ วัดพระธาตุหนองบัวเป็นแหล่งรวบรวมศิลปกรรมประเภทต่างๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่างๆ ที่ได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์วิหารพระธาตุเจดีย์ พระพุทธรูปซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา สอดแทรกเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่อยู่ในรูปแบบภาพจิตรกรรม วัดพระธาตุหนองบัวและองค์พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เป็นแหล่งรวบรวมเอาศิลปะในทุกๆ แขนงของไทยมารวมเอาไว้ภายในวัด พุทธศิลป์ที่ปรากฏในพระธาตุหนองบัวมีผลต่อความเชื่อเรื่องบุญบาปของชาวพุทธในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้แก่ ทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของศีลธรรม ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รู้จักทำบุญให้ทาน รักษาศีล เข้าวัดปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ประพฤตินอกจารีและประเพณีอันดีงามของชุมชนและสังคม ทำให้เป็นรู้จักอายชั่วกลัวบาป มีเมตตาไมตรีจิตที่ดีต่อกัน มีความเสียสละเอื้อเฟื้อต่อส่วนรวม มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กระทำกรรมอะไรไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น

Article Details

บท
Articles

References

กรมศิลปากร, (2529), โลกทีปกสารของพระสังฆราชเมธังกร, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน

จำกัดสามัญ นิติบุคคลสหประชาพานิชย์.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. สรุปโครงการจัดประชุมการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดแก่เจ้า

คณะ จังหวัดทั่วประเทศ.ระหว่างวันที่ 18–19 กุมภาพันธ์ 2557, ณ วัดประสิทธิ

เวช อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. [ออนไลน์], แหล่งที่มา:

http://webcache.googleusercontent.com [17 กุมภาพันธ์ 2557].

ฉลอง ดิษสี. (2540). สภาพแวดล้อมของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น. เอกสารรวมบทความ

ประกอบการประชุมสัมมนาเรื่อง เอกลักษณ์และการสืบสานสถาปัตยกรรมใน

ภาคเหนือ, ชุดที่ 12,

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์,

พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระเทพมุณี (วิลาศ ญาณวโร), (2528), วรรณกรรมไทยเรื่องภูมิวิลาสินี, กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.,

พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (เลิศฤทธิ์ธนะกุล), (2551), การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเสนาสนะใน

พระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2541). การพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม,

สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2540). การอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศิลปกรรม. เอกสารชุดคู่มือการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการ

คุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด, กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโลโนยีและสิ่งแวดล้อม,

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). การอนุรักษ์แหล่ง

ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา:

http://www.onep.go.th/

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย,

แสง จันทร์งาม, (2534), ศาสนศาตร์, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ทินพันธุ์ นาคะตะ, (2544), พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, กรุงเทพฯ : หจก.สหายบล็อกและ

การพิมพ์,

หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์, (2518). ธาตุปฺปทีปิถา. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย,