การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อขจัดความขัดแย้งในสังคมมนุษย์

Main Article Content

พระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน
พระไกรสร สุมโน
พุทธิวัฒน์ ถาวรสินศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุของความขัดแย้ง 2) เพื่อศึกษาผลดีและผลเสียของความขัดแย้ง 3) เพื่อขจัดความขัดแย้งโดยใช้หลักพุทธธรรม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตจากการคบหาสมาคมซึ่งกันและกันของบุคคลในสังคม มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในสังคมได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางด้านอื่น เพื่อสนองความต้องการของตนเอง ความอยากหรือความต้องการ จึงเข้าไปมีความสัมพันธ์กับความขัดแย้ง ผลประโยชน์ หรือความต้องการนั้น จัดได้ว่าเป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายนอกที่ชัดเจนประการหนึ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด แต่ผู้ที่มีความต้องการนั้นมีจำนวนมาก หากไม่สามารถที่จะจัดการทรัพยากรให้เป็นระบบได้ ย่อมเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น การใช้หลักพุทธธรรมเพื่อขจัดความขัดแย้งในสังคมมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเหมาะสมเป็นอย่างมากที่จะทำให้สังคมมนุษย์มีสันติสุข


            

Article Details

บท
Articles

References

จิรารักษ์ ทรงเมตตา. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ศีลข้ออทินนาทานกับปัญหาวิกฤตทาง

ศีลธรรมของวัยรุ่นในสังคมไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2547). ธรรมศาสตรา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (2551). พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เลี่ยงเซียง.

พระครูนิกรสุนทรกิจ (สมพงษ์ นุ่มสกุล). (2554). การศึกษาวิเคราะห์เรื่องความสามัคคีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิทธิถาวรคุณ (เจรัมย์). (2556). การศึกษาหลักหิริ-โอตตัปปะเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญกอง คุณาธโร (มาหา). (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความกตัญญู (กตญฺญุตา) ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสายัณห์ ธมฺมธีโร. (2546). การศึกษาวิเคราะห์มานะในพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2550). วิเคราะห์คำสอนที่ใช้เพิกถอนมิจฉาทิฏฐิก่อนการบรรลุธรรมของพุทธสาวก, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี คงเตี้ย (พันตำรวจโท). (2557). กระบวนการจัดการความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม : กรณีศึกษาประชาชนบุกรุกที่ดินสาธารณะชุมชนชะแมบพัฒนา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.