การบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21

Main Article Content

เอลวิส โคตรชมภู
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งองค์กรในปัจจุบันต่างขับเคลื่อนด้วยมนุษย์สร้างมนุษย์ให้เป็นจุดแข็งขององค์กรใช้มนุษย์เป็นแรงผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ การบริหารองค์กรท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 นั้น มีความซับซ้อนและท้าทายมากขึ้น องค์กรต่างๆ ต้องนำแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์ คือ นำเอาความรู้ ทักษะ ความสามารถ ตลอดจนความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่มีสั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถนำสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพขององค์กร เป็นมิติใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแนวคิดของการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ดึงความสามารถของมนุษย์ออกมาสร้างมูลค่าเพิ่มของทุนทางปัญญา ในการบริหารทุนมนุษย์ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์เป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือสอดคล้องกับการสร้างสมรรถนะความสามารถหลักและสมรรถนะในหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์กรจะช่วยให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นที่รู้จักเชื่อถือได้และได้รับการยอมรับในระดับสากล แนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร ได้แก่ การพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรจะต้องตอบสนองต่อกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร การเก็บรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กร การสร้างคุณค่าแก่ทุนมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น การธำรงรักษาทุนมนุษย์ให้อยู่กับองค์กรนานที่สุด และการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในทุนมนุษย์

Article Details

บท
Articles

References

กัลย์ ปิ่นเกษร, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และจิราวรรณ คงคล้าย. (2560). “ทุนมนุษย์ : ตัวชี้วัดทุนมนุษย์ ระดับองค์การ”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 195.

กิตติ มิลำเอียง. (2559). “การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐยุคใหม่”. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(1): 149.

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). เอกสารประกอบการสัมมนา 8K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์คนไทยในการรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์.

ดนัย เทียนพุฒิ. (2551). การบริหารคนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). “การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน”. วารสารนักบริหาร, 32(4): 103 - 108.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

ระบิล พ้นภัย. (2557). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ความสามารถในการแบ่งปันความรู้ของบุคลากรในองค์การ: ปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ของธนาคารพาณิชย์ไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2551). “ทุนมนุษย์และบทบาทในการพัฒนาองค์กร”. วารสารรามคำแหง, 25(2). 205-207.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565, จากhttp://www.nesdb. go.th/main.php?filename=index.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2554). กลยุทธ์หมัดเด็ดพิชิตใจคนเก่ง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Barney, J. B. (1991). “Firm Resources and Sustained Competitive Advantage”. Journal of Management, 17(1): 99-120.

Bateman, S. T. and Snell, A. S. (2009). Management : Leading & Collaborating in a Competitive World. (8th ed.). Boston, MA: McGraw Hill.

Hyun, H. S. (2010). Human Capital Development. ADB Economic Working Paper Series No.225 Asian Development Bank.

Lv, B. and Han, D. (2015). The Relationship between Intellectual Capital and Corporate Performance in Chinese Bio-pharmaceutical Industry. Retrieved on 2 December, 2021, from http://dx.doi.org/10.1051/shsconf/20151701024

Lynda, G. and Sumantra, G. (2003, February). “Managing Personal Human Capital: New Ethos for the “Volunteer” Employee”. European management Journal, 21(1).

Michaels, E., Helen Handfield-Jones, H. and Beth Axelrod, B. (2001). The War for Talent. Boston, USA: Harvard Business School Press.