วิเคราะห์เป้าหมายของหลักอัตถจริยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระกุศล เถี่ยนดึ๊ก
สมเดช นามเกตุ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอ เป้าหมายของหลักอัตถจริยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ศึกษาหลักหลักอัตถจริยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและวิเคราะห์เป้าหมายหลักอัตถจริยาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พบว่า อัตถจริยาเป็นการประพฤติประโยชน์ที่ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ให้ประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นหรือทั้งสองฝ่าย เกิดประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพาน เป้าหมายของอัตถจริยาเชิงปัจเจกบุคคล เป็นการประพฤติประโยชน์ สะสมบุญบารมีให้กับตนเอง รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฝึกฝนพากเพียรพยายามจนสามารถเข้าสู่กระแสพระนิพพานและถึงความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวงได้ในที่สุด ส่วนเป้าหมายของอัตถจริยาเชิงสังคม ก็คือ เมื่อเราประพฤติประโยชน์ตามหลักอัตถจริยาแล้วจะทำให้เกิดผลดีในระดับครอบครัว สังคมและประเทศชาติ วิธีการคือ การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แบ่งปัน ทั้งทรัพย์สิน เงินทอง สิ่งของ เครื่องใช้ ให้ความรู้ ให้อภัย ตามกำลังของตน ใช้วาจาสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน มีความเสมอต้นเสมอปลาย ศรัทธาเชื่อมั่นในพระธรรมแล้วจะพบความสงบสุขและสันติสุขในที่สุด


 

Article Details

บท
Articles

References

เครือข่ายพุทธิกา. (2553). สุขแท้กลางใจเรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สามลดา

บุญสิริ ชวลิตธำรง. ธรรมโอสถ. (2529). กรุงเทพฯ :อมรินทร์การพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ

ประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______.(2542). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) หมวดพุทธศาสตร์.

กรุงเทพฯ : ธรรมสภา

______.(2543). บุญ-บารมี ที่จะกู้แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ), กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

______.(2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

______.(2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 42 (ฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : งานพระราชทานเพลิงศพนายเถลิง เหล่าจินดา.

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2550). รักลูกให้ถูกทาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาศน์ วาสโน). (2528). สังคหวัตถุ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสทื้อน ศุภโสภณ. (2543). พระพุทธศาสนาในรัชสมัยสมเด็จพระนวมินทรมหาราช.

กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม.