การรักษาโรคในเภสัชขันธกะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอเรื่องโรคและยารักษาโรคที่ปรากฏในเภสัชขันธกะ และ เพื่อศึกษากระบวนการรักษาโรคในเภสัชขันธกะ ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของโรคส่วนใหญ่มาจาก 8 ประการ คือ โรคเกิดแต่ดีให้โทษ โรคเกิดแต่เสมหะให้โทษ โรคเกิดแต่ลมให้โทษ โรคที่เกิดทั้งดี เสมหะ ลม ให้โทษ โรคเกิดแต่ฤดูแปรปวน โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ โรคเกิดแต่ความเพียรเกินกำลังและโรคเกิดแต่วิบากกรรมซึ่งก่อให้เกิดชินดของโรคของกายดังนี้ โรคภายนอก เช่น โรคเท้าแตก พุพอง แผล โรคหิต ผื่นขึ้นตามตัว โรคภายใน เช่น ผอมเหลือง หรือดีซ่าน โรคตา ไข้ โรคท้องอืด โรคลมตามอวัยวะ โรคกลิ่นตัวแรง โรคอมนุษย์เข้าสิง สัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่อย นอกจากนี้ยังมีโรคทางใจด้วย
ยาที่ปรากฏในเภสัชขันธกะ เป็นยาสมุนไพรที่ได้จากพืช จากสัตว์ จากแร่ธาตุ เนื้อสดและเลือดสด และการใช้อาหารสำหรับเป็นยาบำรุงร่างกาย เช่น น้ำข้าวใส น้ำต้มเนื้อ น้ำต้มถั่วเขียว ข้าวยาคู กระบวนรักษาโรคที่ปรากฏเภสัชขันธกะ จากการศึกษา พบว่า มีการวินิจฉัยโรคก่อน หาสาเหตุของโรค ต่อมาศึกษาคุณภาพของยาแล้วนำมารักษาโรคนั้น เช่น โรคภายนอกจะใช้ยาทา ยาฟอก โรคภายในจะใช้การกิน รมควัน ยานัตถ์การผ่าตัด สำหรับโรคอมนุษย์เข้าสิงจะใช้เนื้อสดและเลือดสดรักษา การรักษาโรคที่ถูกยาแฝกโดยใช้ดินติดผานไถ แก้พิษงูใช้ยามหาวิกฏ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ในการรักษา สำหรับโรคทางใจนั้น รักษาด้วยไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อวิเคราะห์โรคและยาสมัยพุทธกาลกับยาแพทย์แผนไทยปัจจุบัน พบว่า บางอย่างเหมือกันและยังอยู่ บางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง และบางอย่างหายไป
Article Details
References
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสารจำกัด.
พระมหานิยม อุตฺตโม. (2547). บาลีไวยากรณ์. ขอนแก่น: บริษัทคลังนานาธรรม จำกัด.
ยุวดี จอมพิทักษ์. (2540). รักษาโรคด้วยสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ หอสมุดกลาง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุคส์พับลิเคชั่น จำกัด.
หลวงเทพดรุณานุศิษฐ์ (ทวี ธรรมธัช). (2556). ธาตุปฺปทีปิกา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.