ความต้องการของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายมหาธาตุเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

นาด มุลทากุล
อมรทิพย์ เจริญผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายมหาธาตุเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มเครือข่ายมหาธาตุเจดีย์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 96 คน โดยศึกษา 6 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา ด้านการนิเทศภายใน และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า การศึกษาความต้องการของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายมหาธาตุเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการนิเทศภายใน ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กาญจนา ทับทิมศรี. (2556). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพของโรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

กาญจน์ เรืองมนตรี และ ธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารและการจัดการใน สถานศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กัมพล ขันทะวงษ์. (2555). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สหวิทยาเขต

ราสารทผญาไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คัมภีร์ สุดแท้ (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 4(2).

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนว ทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ยะลา.

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการ พิมพ์.ลาดกระบัง.

จุฑารัตน์ ขึ้นทิพย์. (2553). ศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรทางพลศึกษา และการกีฬาสังกัดสถาบันการพลศึกศึกษา วิทยาเขตภาคเหนือ. บริหารการศึกษา แขนงการบริหารจัดการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุลี รุ่งพานิช. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สงผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธีรพงษ์ ดาสม. (2556). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนบ้านมะกอก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต7 บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎีวิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา.

กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด .

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นุชลี อุปภัย. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พิมพ์ลักษณ์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพ.