ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการจำแนก ประเภทของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พัชรีภรณ์ ธิโกศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจำแนกประเภท ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สมมุติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจำแนกประเภทหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งได้มาจากการเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย โรงเรียนบ้านนาส้มมอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน ระยะเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 24  แผน มีค่าเฉลี่ยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมเท่ากับ 4.76   มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนกประเภท จำนวน 37 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้ออยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 0.66 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สูตร t-test  for Dependent Samplesผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในด้านความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์รวม ภายหลังการเรียนรู้ พบว่า สามารถพัฒนาความสามารถด้านทักษะการจำแนกประเภทให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง และ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้านความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์รวม  ก่อนและหลังการเรียนรู้ พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้

สมองเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : วี ที ซี คอมมิวนิเคชั่น.

______. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงาน

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.

เครือพันธ์ อุปโคตร. (2553). การเปรียบเทียบความพร้อมด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาของ

นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุ

ปัญญากับการจัดประสบการณ์ปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฬาลักษณ์ คำมูล. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาความสามารถทาง

คณิตศาสตร์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธราธิคุณ ระหา. (2559). การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์และความฉลาดทาง

อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2558). การวัดและประเมินผลภาควิชาพื้นฐานการศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยนุช แข็งกสิการ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกต

และทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วัฒนา ปุญญาฤทธิ์และปฐิกรณ์ ตุกชูแสง. (2550). 123 กิจกรรมสําหรับเด็กปฐมวัย

(อายุ4–5 ปี). กรุงเทพฯ : ปาเจรา.

Jensen, E. (2004). Optimal stages oflearning..<http://WWW.applestar.org/brain%20learning/

IMAGES/learning.jpg> November 27, 2020.