การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเศรษฐศาสตร์หน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

โสภิตญดา จันโทศรี
ลักขณา สุกใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สาระเศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้การบริหารและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ3) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนด่านขุนทด ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ (t-test Dependent Sample)ผลการวิจัย พบว่า 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียน            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.94/81.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมาก  ( =8.53, S.D.=0.89)


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2562.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

เกศินี ครุณาสวัสดิ์. (2562). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา เพื่อ

พัฒนา จริยธรรมในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562

จาก https://madlab.cpe.ku.ac.th

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2562). เมื่อ Thailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Education 2.0.

เรียกใช้เมื่อ 28กรกฎาคม 2562 จาก http://apps.qlf.or.th/member/Uploaded

Files/prefix-16072

ทิชานนท์ ซุมแวงวาปี และลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

ทักษะการแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียน กลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 34(4), 7-19.

ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้

ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กิจกรรม WebQuit เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(1), 151- 157.

เมธา อึ่งทอง และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียน

กลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ ตุลาคม 2561), 84-96.

ลักขณา สุกใส. (2562). การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานวิชาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สารสนเทศเพื่อการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9 (1), 59-66.

อัจฉรา เชยเชิงวิทย์ และธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการ

สอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), 163-171.

อิสรา โต๊ะยีโกบ และคณะ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับ

การปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 109-123