มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

Main Article Content

ณัฐดนัย รอดริน
ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ และ 2) เปรียบเทียบมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำแนกตามสถานภาพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 297 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 แบบสอบถามมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามมาตรวัดของลิเคิร์ท มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Independent Samples Test และค่า F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัย พบว่า 1) มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้านการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ด้านความกล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ด้านซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ด้านคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและมีจิตสาธารณะ ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามอายุโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

จักกิต แก้วประเสริฐ และคณะ. (2564). “พฤติกรรมเชิงจริยธรรมต่อการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มศรีชมภู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.” วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(7). 51-59.

ดวงเดือน พันธุมมาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมเอกสารทางวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรพงษ์ จินพละ. (2557). พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นพดล ละอองคำ. (2553). คุณธรรม จริยธรรม ของผู้บริหารสังกัดเทศบาลในจังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรีชา อยู่ภักดี. (2551). การศึกษาการปฏิบัติตนตามคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

มนเทียร ลุนสูงยาง และคณะ. (2563). “ทัศนะของครูเกี่ยวกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตวิทยปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.” วารสารครุศาสตร์ปริทัศน์. 7(2), 175-187.

มานะชัย สุริยนต์. (2554). คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก, หน้า 2, 10.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13. (2563). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต13 ประจำปี 2563. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือคำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อภัสสรณ์ เอี่ยมสกุล และคณะ. (2563). “ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ. ศ. 2562 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.” วารสารครุศาสตร์ปริทัศน์. 7(2), 92-104.

อัญชสา ธนากิตติเจริญ. (2552). ศึกษาพฤติกรรมด้านจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุมมิลกัลโศม มะแซ. (2555). พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.