ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

Main Article Content

พรสวรรค์ สุขพรหม
รุจิราพรรณ คงช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 4) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน และครูผู้สอน จำนวน 317 คน รวม 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 มีความสัมพันธ์กันระดับสูงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยการบริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยปัจจัยการบริหารด้านปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยบรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กร และปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ได้ร้อยละ 51.50 (R2=.515) มีสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


คะแนนดิบ = .952 + .427(X1) + .306(X3) + .115(X4)


คะแนนมาตรฐาน = .392(X1) + .346(X3) + .135(X4)

Article Details

บท
Research Articles

References

กรุณา ภู่มะลิ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กใน ภาค

ตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ฉะเชิงเทรา.

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จริยาภรณ์ พรหมมิ. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐชนก ชัยศรี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ทรรศนกร สงครินทร์. (2561). ปัจจัยทางด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยสันตพล.

นคร เสรีรักษ์ และภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. (2555). วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20.บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิมพิชญา จงเกียรติกาญจน์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ยุทธศักดิ์ ไชยสีหา. (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐานของ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัชดาพร ขึ้นนกขุ้ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). เล่มที่ 135 ตอนที่ 40 ก.

วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

วุฒิพร ประทุมพงษ์. (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ขนาดเล็กสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). พฤศจิกายน 2563 (เอกสารลำดับที่ 15/2562).

Hoy and Miskel. (2001).Education administration: Theory research and practice. (6th ed.). NewYork: McGraw-Hill.