การศึกษาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

เมวิกา แย้มยิ้ม
พงษ์ธร สิงห์พันธ์
ธิดารัตน์ จันทะหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อเปรียบเทียบการศึกษาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ซึ่งได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการสุ่มอย่างง่ายวิธีการสุ่มโดยใช้ตาราง ของ Krejcie and Morgan (ธีรวุฒิ เอกะกุล 2546 : 175 ) จำนวน 284 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 46 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบการศึกษาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระดับการศึกษาภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระยะเวลาในการเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และขนาดสถานศึกษา ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาควรนำเสนอการใช้หลักสูตร ให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ประยุกต์ใช้ผ่านระบบออนไลน์ แอพพลิเคชั่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานให้หลากหลาย กับสมาชิกคณะกรรมสถานขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนและช่วยในการตัดสินใจและให้คำแนะนำ และร่วมพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร รวมถึงการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นเข้าในหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมจัดการเรียนรู้แบบ Active learning เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ นำสื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
Research Articles

References

กอบกฤช การควรคิด.(2561), การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียน. คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553), หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

ดวงดาว ภูกา. (2559), การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย

การศึกษาผานางคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1.

การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ธีรวุฒิ เอกะกุล.(2550),ระเบียบวิธีวิจัย ทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.

อุบลราชธานี : วิทยาออฟเชทการพิมพ์. 2550

เทิดศักดิ์ จันทิมา.(2560),แนวทางการบริหารงานวิชาการโดยการใช้เครือข่ายของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554), หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

พุมรินทร์ ไฝชู. (2557), การมีส่วนรวมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการ

บริหารงานวิชาการของโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัด

นครศรีธรรมราช. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ฟิกรี แก้วนวล. (2560), การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการ

บริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

ภาวิณี ครุฑปักษี.(2559), การมีส่วนร่วมของครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน

เครือข่ายกลุ่มคุ้งบางกะเจ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สมุทรปราการ เขต 1.การบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร (หัวหมาก)

มาเรียม นิลพันธุ์และคณะ.(2560), การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

หลักสูตรและการสอน(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556). คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวุฒิ ต๊ะคาวรรณ์.(2558) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต1.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง.

วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์.(2557),การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.สาขาการบริหารการศึกษา.

คณะครุศาสตร์

อำนาจ นาคแก้ว.(2557), การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการศึกษาตามหลัก

พรหมวิหารธรรมกับความพึงพอใจของพนักงานครูเทศบาลในจังหวัดอ่างทอง /

สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564 /สืบค้นจาก https://nakkaew.wordpress.com/.

อัฐพล พระวิทูรย์.(2558).การบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอแม่จัน

จังหวัดเชียงราย.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและ

พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 ).กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราช

ภัฏกำแพงเพชร.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological

Measurement. New York : Minnisota University,

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York :

Harcourt, Brace and World.