แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปุญชิดา ปัญญามี
เด่นดวงดี ศรีสุระ
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งในด้านการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้านการชี้เป้า-เฝ้าระวัง ด้านเชื่อมกลุ่มเดิม-สร้างกลุ่มใหม่ และด้านการมีส่วนร่วมทำแผนชุมชน ในด้านการชี้เป้า-เฝ้าระวัง ได้แนะนำหรือบอกระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานอาสาสมัครก่อนเข้ามาทำงาน ด้านเชื่อมกลุ่มเดิม-สร้างกลุ่มใหม่  ได้ให้ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในชุมชนกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐเพื่อทำงานด้านสวัสดิการสังคม และด้านการมีส่วนร่วมทำแผนชุมชน มีการประสานหรือหาแนวร่วมเพื่อเตรียมข้อมูลทำแผนชุมชน


           แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดอุบลราชธานี ด้านการชี้เป้า-เฝ้าระวัง ควรมีการปฏิบัติงานประสานควบคู่กับหน่วยงานราชการเพื่อชี้เป้า-เฝ้าระวังในเรื่องร้ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ควรมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายและผู้รับบริการในชุมชน ควรมีการประชาสัมพันธ์และเรียนเชิญวิทยากรที่ความรู้ความเชี่ยวชาญมาบรรยายให้กับคนชุมชน ด้านการเชื่อมกลุ่มเดิม-เสริมสร้างกลุ่มใหม่ ควรส่งเสริมให้ชุมชนสร้างกลุ่มเครือข่ายที่ยังไม่มี ให้เกิดขึ้นในชุมชน ควรมีการวางแผนในการที่จะสร้างเครือข่ายหรือสร้างกลุ่มใหม่เพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมร่วมกับหน่วยงานของรัฐและด้านการมีส่วนร่วมทำแผนชุมชน ควรให้คนในชุมชนระดมความคิดในการจัดทำแผนและกิจกรรมชุมชนให้คนในชุมชนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมชุมชน และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการจัดทำแผนและกิจกรรมในชุมชน

Article Details

บท
Research Articles

References

การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวง. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,

จุไรรัตน์ พละเลิศ. (2550). แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของนนุษย์ เพื่อปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงนุช จิตตะเสโณ และอุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). อาสาสมัครกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต : กรณีศึกษาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นพพร ทิพวงศ์. (2552). การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

รัตนา เจริญรัมย์. (2561). แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อสม.) ในอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วงศ์ตระกูล มาเกต. (2561). เครือข่ายความร่วมมือของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในการพัฒนาสังคม: กรณีศึกษา ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี คลังทอง. (2556). แนวทางการพัฒนาปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดอำนาจเจริญ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อณุสรา ชื่นทรวง. (2547). การพัฒนาบทบาทอาสาสมัครศูนย์อำนวยการเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรนุชา มงคลรัตนชาติ. (2548). การขยายบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปสู่โครงการครอบครัวอุปการะ : กรณีศึกษาสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.