ภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12

Main Article Content

เกศศิรินทร์ มหรรณพ
อรรครา ธรรมาธิกุล
สรัญญา แสงอัมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 351 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การประสานความร่วมมือ รองลงมาคือ เป็นผู้สร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับ และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการเป็นผู้ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือการประกันคุณภาพการศึกษา และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการบริหารจัดการ 3. ภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูงมาก โดยด้านการจัดระบบการดำเนินงานมีความสัมพันธ์สูงสุด และภาวะผู้นำแบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารร่วมกันพยากรณ์ผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยได้ร้อยละ 87.6

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ สุ่มพวง. (2558). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมมือร่วมใจของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์, โสภณ เพ็ชรพวง และบรรจง เจริญสุข. (2562). การศึกษา

สมรรถนะหลักของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ตาม

ความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 11 ใน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

บุญไช จันทร์ศรีนา, วราภรณ์ ไทยมา และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศีล. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำ

แบบร่วมมือรวมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของภาครัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารมนุษยสังคมสาร, 17 (1) : 213-233.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ, (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

รุ่ง แก้วแดง. (2553). ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก http://www.krusmart.com/wp-content/.../Education-Reform2552-2561.pdf.

สมัต อาบสุวรรณ, กนกอร สมปราชญ์ และสัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2556).ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 29 วันที่ 24-25 ตุลาคม 2556 (หน้า 1136-1143). เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สรรเสริญ วงศ์ชะอุม, (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. นนทบุรี : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

Telford, Helen. (1996). Transforming schools through collaborative leadership.

London : Falmer.