ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13

Main Article Content

พัชรี จันจำปา
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ชูศักดิ์ เอกเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาและศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้บริหารมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารทรัพยากรในองค์กรอย่างมีคุณธรรม รองลงมา คือ การสนับสนุน ควบคุมองค์กรให้สมดุล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การคิดเชิงปฏิวัติ 2) ความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาสามารถร่วมกันพยากรณ์ความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 12.40

Article Details

บท
Research Articles

References

กัมพล ขันทะวงษ์. (2555). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สหวิทยาเขตปราสาทพญาไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เกศรา สิทธิแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน.(2561).แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. [Online].Available:http://www.thaischool.in.th/_files_school/32100474/document/32100474_0_20181109-075626.pdf. [2020, เมษายน 6]

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (Online). Available : http:/www.mwit.ac.th/person/Statutes/NationalEducation.pdf (2563,กุมภาพันธ์ 14).

เครือวัลย์ ไชยสินธุ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉลวย คงแป้น. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชิดชนก เชิงเชาว์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา (Research Method in Education). พิมพ์ครั้งที่ 3. ปัตตานี : โครงการผลิตตำรา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทรรศนะ บุญขวัญ. (2549). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธวัช บุญยมณี. (2547). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2547). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กเพลส.

.(2552). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำเชิงกลยุทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

สมยศ นาวีการ. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ:บรรณกิจ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการดำเนินงานในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อาทิตย์ นิวาสวัฒน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนกับความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Adair, J. (2002). Effective Strategic Leadership. London : Pan Macmillan.

Davies, B. J. & Davies, B. “Strategic Leadership”. School Leadership & Management.23, 1 (2004)

DuBrin, A. J. (1998). Essentials of management. New York, NY : South-Western College. Leadership: Research findings, practice, and skills. Boston: Houghton Mifflin.

. (2004). Leadership: research finding, practice, and skills. 5th ed. New York: Houghton Mifflin.

Hitt, M. A, Ireland, R. D. & Hoskisson, R. E. (2007). Management of strategy : Concept and Case. China: Thomson South – Wettern.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. “Determining Sample Size for Research Activities”. Education and Psychological Measurement. 30 (1970) : 607 – 610

Nahavandi, A & Malekzadeh, A.R. (1999). Organization Culture in the Management of Mergers. New York, NY: Quorum Book.