ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

รุ่งฤดี ยอดเจริญ
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ชูศักดิ์ เอกเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 2) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การเข้าใจผู้อื่น การสร้างชุมชน การมีวิสัยทัศน์ และการมองการณ์ไกล ตามลำดับ 2) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมุ่งคุณภาพ และความเอื้ออาทร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การยอมรับ การให้อำนาจ เป้าหมายของสถานศึกษา การตัดสินใจ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา และความไว้วางใจ ตามลำดับ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารกับวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (r = .876)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร ด้านการสร้างชุมชน (SBC) ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคล (SCGP) และด้านการมีวิสัยทัศน์ (SC) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา โดยร่วมกันพยากรณ์ผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาได้ร้อยละ 78.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ที่ได้ คือ  = .651 (Constant) + .476 (SBC) + .238 (SCGP) + .141 (SC)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ 2550-2559. กรุงเทพ ฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.

กีรติกรณ์ รักษาดี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหาร

สถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎีวิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : เนติกุลการพิมพ์.

นฤชล คุ้มกลาง. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การลักษณะเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 : กรณีศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพ ฯ : วี พริ้นต์ (1991).

ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0.

วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University 11 (2), 1994-2013

พัชรินทร์ ราชโส.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของการ

บริหารงานโรงเรียนขนาดใหญ่ สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์ชนก อินทะโชติ. (2559). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

สถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์การภายในสถานศึกษาตามทรรศนะของผู้บริหาร

และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ยุทธนา เพชรเชนทร์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่ใจบริการกับประสิทธิผลของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วิเชียร วิทยอุดม. (2550). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ :

วิจิตรหัตถการ.

ศุภวัฒน์ กลิ่นจันทร์.(2552). การเป็นผู้นำในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ. [ออนไลน์].

Available: http://school.obec.go.th/kokkb/articles.php,

สมชาย เทพแสง และอรจิรา เทพแสง. (2549). ผู้นำยุคใหม่ หัวใจของการปฏิรูป. นนทบุรี:

อัลฟามิเล็นเนียม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. กรุงเทพ ฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุนิสา ศรีอัสดร. (2561). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อมรรัตน์ ศรีทอง. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. "Determining Sample Size for Research Activities". Education and Psychological Measurement.30 (1970) : 607-610.