ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12

Main Article Content

วาสนา คุระแก้ว
อรรครา ธรรมาธิกุล
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร  2) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มตัวอย่าง เป็น ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำนวน 342 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม การมีความคิดยืดหยุ่นและปรับตัว  การมีวิสัยทัศน์  การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การเจรจาต่อรอง และการมีความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเอื้ออาทรต่อกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การส่งเสริมให้มีการตัดสินใจร่วมกัน การเติบโตทางวิชาการและสังคม การสร้างบรรยากาศเชิงบวก การสร้างแรงจูงใจ และการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 โดยรวม อยู่ในระดับสูงมาก (r =.933) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ที่ได้ คือ = .407 (Constant) + .375 (A4) + .266 (A6) + .264 (A5)  = .420 (A4) + .278 (A6) + .293 (A5)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษพล อัมระนันท์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาใน

อำเภอแม่วงศ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เกศสรินทร์ ตรีเดช. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม

ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จารินี สิกุลจ้อยและคณะ. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล

ต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ฉะเชิงเทรา เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชนันนัทธ์ จันทร์รินทร์. (2550). อิทธิพลของการจัดการทรัพยากรมนุษย์และบรรยากาศ

องค์การต่อผลการปฏิบัติการของพนักงานในเขตอุตสาหกรรมภาคเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ: สหธรรม.

ธนาภรณ์ นีลพันธนันท์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ไพรฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทาง

การศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. ( 2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในจักรพรรดิ

วะทา (บรรณาธิการ). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

สุพรรณิกา ฤกษ์มงคล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของ

ผู้บริหารกับความพึงพอใจในการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สุรีวัลย์ ใจงาม. (2560). บรรยากาศองค์การ แรงจูงใจในการทำงานและความมีประสิทธิภาพ

ในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อภิวรรณ กันวิเชิญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับพฤติกรรม

การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทัพบดินทร์ อำเภอโคกสูง สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยบูรพา.

Brown, W. B., & Moberg, D. J. (1980). Organization theory and management:

Approach. New York: John Wiley and Sons.

Cronbach, L.J.(1990). Essentials of Psychology Testing. ed. New York :

Harper Collins Publishers Inc.

Ghanbari, S.T. (2013). The relationship between organizational climate and

motivation to work and behavior of a member of the University of Bu-Ali Sina. Australia : SouthWestern Cengage Learning.

Krejcie,R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research

activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 608.